Van Cleef & Arpels จากความฝันสู่ศิลปะแห่งเครื่องบอกเวลา
เพื่อขานรับการกลับมาอีกครั้งของนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะอัศจรรย์ และเครื่องบอกเวลา WATCHES & WONDERS ซึ่งจะจัดขึ้นในปี 2022 นี้ เมซงได้รจนาเรื่องราวต่างๆจากบรรดาแหล่งกำเนิดแรงบันดาลใจอันเสมือนเป็นสัญลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นอย่างวิจิตรบรรจงดุจกวีนิพนธ์บทใหม่ผ่านคอลเล็กชั่นผลงานเอกลักษณ์นาม Poetry of Time
ช่างสมกับความหมาย “บทกวีบอกเวลา” ผลงานแต่ละชิ้นล้วนถือกาเนิดจากความฝันกับจินตนาการ ทรงอานาจแห่งการจุดประกายความรู้สึก และอารมณ์ขึ้นในใจของผู้พบเห็น นิทรรศการครั้งนี้ หาได้ต่างอะไรจากการเดินทางสู่ใจกลางอาณาจักรธรรมชาติอันรื่นรมย์ผ่านผลงาน Enchanting Nature ก่อนทะยานสู่ห้วงเวหนเบื้องบนอันไกลโพ้น ผลงานสุดพิเศษมีเพียงหนึ่งเดียวในโลกถึงสามชิ้น คือการสืบทอดขนบธรรมเนียมประดิษฐกรรมจักรกลแห่ง Van Cleef & Arpels ซึ่งหลอมรวมความชำนาญชั้นเลิศในการผลิตเครื่องบอกเวลาเข้ากับไหวพริบในการพลิกแพลงทักษะแขนงต่างๆ ทางงานเครื่องประดับอัญมณีไว้ร่วมกันได้อย่างน่าอัศจรรย์
ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาตั้งโต๊ะจักรกล ซึ่งได้รับการออกแบบตามแนวคิด “ดาราจักรศาสตร์นิพนธ์” (Poetic Astronomy) ด้วยการจาลองวิถีแห่งสุริยะจักรวาลลงสู่เวทีอัจฉริยะประดิษฐ์อันสะกดสายตาด้วยลีลานาฏกรรมแห่งดวงดาราบนวงโคจร หรืออีกสองผลงาน ซึ่งต่างนาเสนอความสดใส มีชีวิตชีวาในธรรมชาติได้อย่างละเมียดละไม และเสมือนจริงอย่างที่สุด
ในสวนศรีแห่ง Van Cleef & Arpels ยังมีนาฬิกาข้อมือคู่ใหม่จากคอลเล็กชั่น ถือกาเนิดขึ้นโดยอาศัยธรรมเนียมศิลป์จากกลไกเครื่องประดับซ่อนเวลาเพื่อให้มวลพฤกษาหลากสีสันบนหน้าปัดได้ผลิบานสดใสตลอดวัน การเดินทางสู่ศูนย์กลางอาณาจักรจินตนาการทอดยาวอย่างต่อเนื่องด้วยลีลาอุปรากรชวนฝัน ผ่านการถ่ายทอดศิลปะนาฏกรรมอย่างอ่อนช้อยลงสู่อีกผลงานอันโดดเด่นเป็นหนึ่งด้วยสัญลักษณ์ทางการออกแบบประจาเมซง นั่นก็คือนาฬิกาข้อมือ กระแสธารแห่งกาลเวลาดาเนินรุดหน้าไปตามวิถีอย่างเนิบนาบผ่านประตูสู่ดินแดนมหัศจรรย์ และการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน
ศิลปะวัตถุที่อยู่เหนือสามัญ
ด้วยชื่อเสียงอันเป็นที่รู้จักในไหวพริบพลิกแพลงความชานาญแขนงต่างๆ ทางศิลปะเครื่องประดับชั้นสูง Van Cleef & Arpels ครองความโดดเด่นเป็นหนึ่งในขอบข่ายความทักษะเฉพาะด้านที่น้อยนักจะมีผู้ใดเสมอเหมือนมานับแต่ก่อตั้ง และนับจากปี 1906 ที่มีการขยับขยายขอบเขตแห่งการออกแบบสร้างสรรค์ ผลงานอันควรค่าแก่การเป็นศิลปวัตถุทั้งหลายล้วนงดงามสะกดสายตาด้วยลูกเล่นหักมุมชวนพิศวง และมอบความรื่นรมย์ใจอย่างยากจะหาถ้อยพรรณนา หนึ่งในตัวอย่างผลงานซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์แห่งแวดวงศิลปะเครื่องประดับตกแต่งที่เหมาะแก่การหยิบยกมากล่าวถึงนั้นก็คือแบบจาลองเรือสาราญ “ราชวรุณ” หรือ Varuna yacht ผลงานตามคาสั่งพิเศษจากยูจีน ฮิกกินส์ ทายาทผู้มั่งคั่งแห่งธุรกิจผลิตพรม ชายโสดเจ้าสาราญผู้ชื่นชอบการกีฬาเป็นชีวิตจิตใจแห่งวงสังคมชั้นสูงของนิวยอร์กในยุคนั้น เรือทองคาลงยาบนระลอกคลื่นประติมากรรมทาจากโมราสลับลาย (หินแจสเปอร์) รองรับด้วยฐานไม้มะเกลือชิ้นนี้ ตราตรึงใจแก่ทุกบุคคลที่ได้พบเห็นจากการถ่ายทอดทุกรายละเอียดสมจริงของเรือยอช์ทราชวรุณ หรือวารูนายอชท์ (Varuna คือคาเรียก “พระวรุณ” เทพแห่งฝน และน้าผู้ปกครองท้องทะเลหรือแดนสมุทรตามคัมภีร์ไตรเภทของอินเดีย) หนึ่งในคอลเลคชันเรือสาราญส่วนตัวของมหาเศรษฐีฮิกกินส์ ผลงานรุ่นต้นแบบซึ่งได้รับการสร้างสรรค์เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเรือยอช์ทอันเกริกไกรลานี้ มีการติดตั้งระบบไฟฟ้า อานวยให้ปล่องควันบนตัวเรือจักรไอน้าทาหน้าที่เป็นกระดิ่งกดเรียกบัทเลอร์ หรือพ่อบ้านประจาคฤหาสน์ นอกจากนั้น ยังมีผลงานอื่นๆ อีกมากมายซึ่ง Van Cleef & Arpels ได้ทาการออกแบบ สร้างสรรค์ขึ้นเป็นพิเศษตามคาขอที่ไม่เคยธรรมดาของเหล่าลูกค้า และสหายผู้ทรงอภิสิทธิ์ อย่างเช่น Maison d’Hortense (เมซง ดอรตองซ์: เรือนคนสวน) ตู้กระจกธรรมชาติจาลองขนาดเล็ก ทาจากทองคาเฉดเหลือง, พลอยสมุทรลาพิซ ลาซูลิ และปะการังสาหรับไว้เป็นเรือนเลี้ยงกบของมหาราชาพระองค์หนึ่ง ว่ากันว่ากบตัวนี้จะมีพฤติกรรมแตกต่างหลากหลายไปตามการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ องค์มหาราชาจึงใช้เป็นสัตว์พยากรณ์อากาศส่วนพระองค์
ศิลปวัตถุซึ่งเมซงได้ออกแบบขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องบอกเวลา ล้วนเป็นประดิษฐกรรมแยบยลบนความงามสง่าอย่างเช่นบรรดานาฬิกาซ่อนระหว่างทศวรรษ 1920 ซึ่งกลายเป็นผลงานรุ่นต้นแบบแห่งการรังสรรค์ขึ้นใหม่ในรูปแบบที่มีความร่วมสมัยยิ่งขึ้นตลอดทศวรรษ 1990 โดยอาศัยรูปลักษณ์ของเรือน หรือกรงเลี้ยงสัตว์ อันได้รับแรงบันดาลใจจากดินแดนโพ้นแผ่นดินอย่างฝูงวานรแกะสลักจากพลอยดอกตะแบก (อะเมธิสต์) สีสด, หมีแพนดาทาจากหินประดับสีตัดกัน และหมีหลากท่วงท่าซึ่งใช้เทคนิคฝังเพชรจิกไข่ปลาตลอดทั้งตัวเพื่อก่อมิติความลึกทางรูปทรง ในทศวรรษ 1970 รสนิยมอันมีต่อวัตถุดิบเนื้อหยาบ ปราศจากการเจียระไน หรือผ่านกระบวนการตกแต่งแปรรูป รวมถึงการใช้วัสดุธรรมชาติอย่างไม้ นามาซึ่งผลงานที่ทับกระดาษฝังหน้าปัดนาฬิกาบอกเวลาล้อมกรอบด้วยงานฝีมือสายเกลียวถักเส้นทองคำเฉดเหลือง
จากเครื่องใช้สำนักงานไปจนถึงของตกแต่งบ้าน ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องประดับสำหรับการสูบบุหรี่ (กลักบุหรี่, ก้านต่อบุหรี่ และไลท์เตอร์ หรือไฟแช็ก เป็นต้น) บรรดาเทคนิค และรงคศิลาที่นำมาใช้ ต่างเป็นหลักฐานยืนยันรายนามลูกค้าชั้นนำแห่งกาลสมัย นอกเหนือจากจะเป็นตัวแทนไหวพริบในการพลิกแพลงทักษะ ความชำนาญแขนงต่างๆ ของเมซง แต่ละผลงานล้วนโดดเด่นเป็นหนึ่งจากการใช้วัสดุต่างชนิดจนดูราวกับเป็นเวทีรองรับการแสดงหลากลีลา และหาได้ต่างอะไรจากการเป็นจุดบรรจบระหว่างศิลปะเครื่องประดับอัญมณี, ทักษะความชำนาญในการผลิตนาฬิกาข้อมือ และหัตถกรรมตามธรรมเนียมดั้งเดิม อย่างนาฬิกาหุ่นกล “ปทุมอัปสร” หรือ (เฟ องดีน) อันสร้างปรากฏการณ์ฮือฮาเมื่อปี ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ คอลเลคชันผลงานที่มีความพิเศษ เหนือธรรมดาทั้งในแง่คุณค่าของวัสดุองค์ประกอบ, ความเป็นเลิศทางงานฝีมือหัตถศิลป์หลากแขนง ตลอดจนไหวพริบพลิกแพลง และกลวิธีในการสรรค์สร้าง สามผลงานสมาชิกสมทบใหม่ในคอลเลคชันนี้แต่ละชิ้นต่างเปิดประตูสู่ภวังค์ฝัน ให้เราได้ปล่อยจินตนาการลอยล่องสู่ห้วงเวหนโพ้นจักรวาล หรือดิ่งตรงสู่ใจกลางแดนฝันแห่งมวลธรรมชาติด้วยการเลือกใช้ขนาด และสัดส่วนอันหลากหลาย งานออกแบบเหล่านี้ถือเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงจิตวิญญาณนวัตกรรมของเมซง ที่มุ่งดาเนินสู่ความเป็นเลิศอย่างไม่หยุดยั้ง อีกทั้งยังแสดงถึงความผูกพัน และยึดมั่นต่อการธำรงทักษะ กับไหวพริบความชำนาญอันเลอค่าหายากแขนงต่างๆ ให้ยั่งยืนผลงานควรค่าแก่การสะสมเหล่านี้ ล้วนอาศัยเวลาหลายปีในการศึกษาค้นคว้า และทำวิจัยสาหรับพัฒนากระบวนการผลิตในการผสานท่วงทานองของเสียงดนตรีที่จะบรรเลงคลอไปกับจังหวะการเคลื่อนไหวอย่างกลมกลืนเพื่อเป็นการเล่าเรื่องราวบทใหม่จากจินตนาการของเมซง
Planétarium automaton
นาฬิกาตั้งโต๊ะจักรกล “ดาราจักรจำลอง” Planétarium automaton (ปลาเนตารียอม โอโตมาตง)
ความสูง: 50 ซม.
ความกว้าง: 66.5 ซม. (ระหว่างปิดช่องประตูรอบฐาน) 108 ซม. (เมื่อเปิดบานประตูออก)
หน่วยจักรกล และระบบขับเคลื่อนทั้งหลายประกอบไปด้วยกลไกโคจรเสมือนจริงของสุริยะจักรวาลจำลอง ทำงานร่วมกับระบบบอกเวลาอีก 11 รูปแบบ อาทิเช่นกลไกบอกชั่วโมง/นาที, ระบบปฏิทินถาวรตามสุริยคติ, แหล่งพลังงานสำรองก่อนนาฬิกาหยุดเดิน 15 วัน
ขับเคลื่อน และบอกเวลาตามสั่ง
เสียงดนตรีเป็นท่วงทำนองซึ่งได้รับการออกแบบ สร้างสรรค์มาเป็นพิเศษโดยอาศัยกลไกหีบเพลงทำงานร่วมกับชุดระฆังพร้อมค้อนตีตามจังหวะ
ฐานโครงสร้างทำจากทองคำเฉดเหลืองร่วมกับทองคำขาว ตกแต่งด้วยเพชร, หินแก้วสีหยกอาเวนทูรีนน้ำเงิน (blue aventurine), ไม้มะเกลือ, ไม้ฮอลลีขาว, แก้ว, งานจิตรกรรมย่อส่วน, อะลูมิเนียม, ทองเหลือง, งานชุบเคลือบผิวแข็งแบบพีวีดีสีน้ำเงิน และสีดำ และหนังแพะ
ดาวพุธทำจากทองคำขาวประดับไพลิน, เพชร และมุกดา (moonstone) ดาวศุกร์ทำจากทองคำสีกุหลาบ ตกแต่งด้วยไพลินสีม่วง และสีเหลือง และโมราสีเขียว (agate)
โลกทำจากทองคำขาวประดับมรกต, พลอยรุ้งทุรมาลีสีน้ำทะเลพาไรบา (Paraíba-like tourmaline), โกเมนเขียวส่องซาโวไรท์ (tsavorite garnet) และหินประสานทองหรือสมุทรจักรวาลคริโซคอลลา (chrysocolla)
ดาวอังคารทำจากทองคำสีกุหลาบ, ไพลินสีชมพู, เพชร และโมราสีเพลิงคาร์เนเลียน (carnelian)
ดาวพฤหัสบดีทำจากทองคำเฉดเหลือง, โกเมนส้มแมนดาริน, เพชร และโมราหยกพยับหมอกคาลเซโดนี (chalcedony)
ดาวเสาร์ทำจากทองคำขาวประดับไพลิน, เพชร และโมราสลับลายแจสเปอร์ (jasper)
พระอาทิตย์ทำจากทองคำเฉดเหลืองร่วมกับไพลินสีเหลือง, โกเมนส้มสเปซซาไทท์ (spessartite garnet) และเพชร
ดวงจันทร์ทำจากทองคำขาวตกแต่งทองคำเฉดเหลือง, เพชร และแก้วราหูโอปอล (opal)
ดาวตกทำจากทองคำขาวร่วมกับทองคำสีกุหลาบตกแต่งรายละเอียดด้วยงานฝังทับทิมซ่อนหนามเตย (Traditional Mystery Set rubies) ร่วมกับเพชร
ความเป็นมาของดาราจักรจำลอง
ประดิษฐกรรมติดตั้งกลไกขับเคลื่อนเพื่อจำลองวิถีโคจรของดวงดาวบนดาราจักร และสุริยะจักรวาลนั้นมีต้นกำเนิดมาแต่โบราณกาล และได้รับการรังสรรค์ขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่องจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในทางดาราศาสตร์โดยใช้คำเรียกขานวัตถุกลจำลองแบบนี้ว่า planetarium หรือ “สุริยะจักรวาลจำลอง” (ในศัพทานุกรมของเมซง เราใช้คำว่า “ดาราจักรจำลอง”) เป็นแบบจำลองวงโคจรดาวเคราะห์บริวารรอบดวงอาทิตย์ ตั้งแต่โลกกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ทั้งแปดตลอดจนเหล่าดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์แต่ละดวงแยกย่อยออกมา โดยที่แบบจำลองทั้งหลายนับแต่อดีตกาลนั้น จะมีกลไก หรือหน่วยจักรกลขับเคลื่อนแสดงวิถีโคจรเสมือนจริงของดาวดวงต่างๆ มีทั้งแบบหมุนรอบตัวเอง และเคลื่อนวนรอบดวงอาทิตย์อันเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ ตัวอย่างแบบจำลองเก่าแก่ที่สุดนั้น คงเป็นกลไกแอนติคิเธียรา (Antikythera mechanism ถูกค้นพบโดยบังเอิญในเรืออับปางของโรมันลำหนึ่งใกล้กับเกาะแอนติคิเธียราของกรีซ จึงนำชื่อเกาะมาใช้เรียกเครื่องกลดาราศาสตร์นี้) ซึ่งถูกยกย่องให้เป็น “คอมพิวเตอร์แอนะล็อกเชิงกล” จากยุค 2 ศตวรรษก่อนคริสตกาล สันนิษฐานว่าได้รับการออกแบบมาสำหรับใช้คำนวณตำแหน่งทางดาราศาสตร์ กว่าหลายปีที่ผ่านมา เครื่องกลแบบจำลองอันมีส่วนพื้นเป็นผืนเวิ้งจักรวาลรองรับดวงดาวต่างๆ ที่มีแกนดิ่งแนวตั้งรองรับอยู่ด้านล่างให้ลอยตัวขึ้นมาจากส่วนฐานเหล่านี้ ถูกใช้ในการแสดงให้เห็นตำแหน่งสัมพัทธ์กับการเคลื่อนตัวตามวิถีโคจรของบรรดาดาวเคราะห์ และดวงจันทร์บริวารในระบบสุริยะผ่านงานประกอบชิ้นส่วนร่วมกับอุปกรณ์ หรือเครื่องมือตรวจวัดค่าที่มีความแม่นยำอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเซ็กส์แทนท์ (sextant เป็นเครื่องวัดระยะทางทำมุมของวิถีดวงดาวบนท้องฟ้าเพื่อระบุหาเส้นรุ้งกับเส้นแวง), แบบจำลองวงแหวนแสดงตำแหน่งดวงดาว (armillary sphere) ตลอดจนนาฬิกาดาราศาสตร์ และนาฬิกานพเคราะห์ อันล้วนร่วมกันอำนวยต่อการจำลองแบบวิถีเคลื่อนตัวของบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลายบนวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ศูนย์กลางได้ตรงตามความเป็นจริง จนถึงยุคหนึ่งซึ่งแบบจำลองวงโคจรดาวเคราะห์ตามทฤษฎีของกาลิเลโอถูกนำมาใช้แทนที่แบบจำลองรุ่นต่างๆ ของโคเปอร์นิคัสแต่ดั้งเดิม ดังที่จะพบตัวอย่างผลงานได้ในพิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์ และท้องฟ้าจำลองไอเซล ไอซิงคา (Eise Eisinga Planetarium) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเขตเทศบาลวาดโฮเค ประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อปี 1781
ในปี 2014 Van Cleef & Arpels ได้ริเริ่มพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์เพื่อลดมิติต่างๆ ของแบบจำลองสุริยะจักรวาลนี้จนมีขนาดพอเหมาะสำหรับมาประดับอยู่บนข้อมือในรูปแบบของตัวเรือนนาฬิกา นำมาซึ่งนาฬิกาข้อมือ Midnight Planétarium ที่สะกดสายตาทุกคนด้วยหน้าปัดแสดงวิถีโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ ในระบบสุริยะจักรวาลผ่านกลไก และองค์ประกอบสุดซับซ้อน อีกทั้งยังเต็มไปด้วยความละเอียด พิถีพิถันเพื่อมอบความแม่นยำ และสมจริงอย่างที่สุด ผลงานรุ่นแรกซึ่งเป็นนาฬิกาข้อมือบุรุษ ตามมาสมทบด้วยรุ่นสำหรับสตรีในปี 2018 และรุ่นนาฬิกาเครื่องประดับชั้นสูง (High Jewelry) ในปี 2021
แปดปีหลังการเปิดตัว Planétarium collection คอลเลคชันนาฬิกาข้อมือ “ดาราจักรจำลอง” Van Cleef & Arpels ได้หวนกลับไปหาสิ่งซึ่งเป็นผลงานต้นแบบ อันถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำเมซงอีกครั้งเพื่อรังสรรค์ขึ้นใหม่ในรูปแบบของศิลปะวัตถุอันมีความพิเศษเหนือธรรมดาหรือ Extraordinary Object อีกหนึ่งบทเติมเต็มเรื่องราววิจิตรบรรจงดุจบทกวีดาราจักรแห่ง Poetic Astronomy
นาฏกรรมดวงดารา
โดดเด่นสะดุดตาด้วยมิติโครงสร้าง (ขนาดความสูง 50 ซม. และเส้นผ่านศูนย์กลาง 66.5 ซม.) ดาราจักรจำลองหรือ Planétarium automaton คือเวทีแสดงวิถีโคจรรอบดวงสุริยะเสมือนจริงของดาวเคราะห์ต่างๆ ในระบบที่สามารถมองเห็นจากโลกได้ด้วยตาเปล่า และกล้องโทรทัศน์ทั่วไป นั่นก็คือดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลกกับดวงจันทร์บริวาร, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ซึ่งแต่ละดวงได้รับการสรรค์สร้างขึ้นพร้อมกลไกขับเคลื่อนให้โคจรครบวงวิถีตามความเร็วจริง นั่นก็คือดาวพุธใช้เวลา 88 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในขณะที่ดาวศุกร์ใช้เวลา 224 วัน, 365 วันสำหรับดาวเคราะห์โลก, ดาวอังคารใช้เวลา 687 วันส่วนดาวพฤหัสบดีคือ 11.86 ปี และดาวเสาร์ 29 ปีครึ่ง
และก็เหมือนกับผลงานนาฬิกาข้อมือสำหรับผู้หญิง ดวงจันทร์บริวารโคจรรอบโดยโดยใช้เวลา 29.5 วัน การเคลื่อนไหวทั้งหมดนี้ปรากฏให้เห็น และรับรู้ได้อย่างชัดเจนในแต่ละวัน
และเมื่อระบบขับเคลื่อนดำเนินการเปิดกลไกการทำงานของนาฬิกาตั้งโต๊ะดาราจักรจำลองเรือนนี้ ดาวตกก็จะปรากฏออกมาจากช่องประตูบานเล็ก และเคลื่อนตัววนรอบหน้าปัดเพื่อทำหน้าที่บอกชั่วโมง ระหว่างที่ดาวตกพุ่งทะยานผ่านบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลายนั้น เสียงดนตรีพลันก้องกังวานเสนาะโสตเพื่อเติมเต็มบรรยากาศนาฏกรรมแห่งดวงดารา เป็นท่วงทำนองเฉพาะซึ่งทำการออกแบบร่วมกับมิเชล ทิราบอสโก (Michel Tirabosco) นักดนตรี และศิลปินคอนเสิร์ตสัญชาติสวิส ในทุกวินาที ดาวเคราะห์ดวงน้อยจะเคลื่อนตัวย้อนวิถีโคจรธรรมชาติของตนราวกับกำลังขับขานฉันทลักษณ์แห่งเทพนิยายอย่างพร้อมเพรียง
ความชำนาญเหนือชั้นในงานผลิตนาฬิกาที่มากับทุกผลงานของ Poetry of Time
เพื่อจำลองจังหวะการเคลื่อนไหวตลอดวิถีโคจรของดาวเคราะห์ทั้งหกรอบดวงอาทิตย์จนครบวงให้ตรงตามความเป็นจริงทุกประการ อันรวมถึงตำแหน่งของดาวแต่ละดวงในแต่ละช่วงเวลา วัสดุที่ใช้ในงานตกแต่ง ประดับประดานี้ จำต้องอาศัยความพิถีพิถันในงานประกอบกลไกขับเคลื่อนซึ่งมีความซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง ในขณะเดียวกัน ก็ต้องรองรับกับมิติสัณฐานเชิงโครงสร้างของแบบจำลองสุริยะจักรวาลอันถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับ Van Cleef & Arpels ได้อย่างพอดี เช่นเดียวกับระบบขับเคลื่อนตามสั่ง ซึ่งเป็นงานพัฒนาร่วมกับทีมงาน CompliTime เพื่ออำนวยให้จังหวะการเคลื่อนตัวตามทำนองดนตรีของวัตถุทรงกลมต่างดาวเคราะห์ทั้งหลายนี้สามารถเริ่มต้นใหม่ตามความต้องการของผู้สั่งงานได้ตลอดเวลา
ภายใต้โดมแก้วครอบฐานจักรกลจำลองวิถีสุริยะจักรวาล อันเป็นงานเป่าแก้วผลิตพิเศษจากโรงผลิต Fluid workshop บนเกาะแบ็ลลิลในเขตประเทศฝรั่งเศสสำหรับผลงานชิ้นนี้เพียงเท่านั้น ดาวตก หรือดาวหางทำจากทองคำประดับเพชรรองรับงานฝังทับทิมซ่อนหนามเตยทำหน้าที่บอกเวลา 24 ชั่วโมงบนหน้าปัด ในขณะที่ส่วนฐานโครงสร้างของวัตถุยังประกอบไปด้วยช่องหน้าต่างบานประตูไล่เรียงกันตามลำดับเพื่อแสดงให้เห็นชั่วโมง/นาที, กลางวัน/กลางคืน, ปฏิทินถาวรตามสุริยคติเพื่อบอกวัน, เดือน และปี ตลอดจนหน่วยเก็บพลังงานสำรอง และยังมีประตูบานหนึ่ง ซึ่งอำนวยให้มองเข้าไปเห็นการทำงานของกล่องดนตรีหรือหีบเพลงกับชุดระฆังพร้อมค้อนตีในโครงสร้างจักรกลบอกเวลาเรือนนี้
กลศิลป์แห่งมวลวัสดุ
เพื่อรังสรรค์ความอัศจรรย์อันได้รับแรงบันดาลใจจากทัศนียภาพบนห้วงเวหาส Van Cleef & Arpels ใส่ใจเป็นอย่างยิ่งในการคัดสรร และกระบวนการทำงานกับวัสดุต่างๆ โดยอาศัยขนบศิลป์เครื่องประดับอัญมณีตามธรรมเนียมดั้งเดิมมาใช้จับคู่ และร้อยเรียงโลหะเลอค่ากับรัตนชาติไว้ร่วมกัน อย่างพระอาทิตย์ ซึ่งใช้การจัดช่อรวบก้านทองคำต่างเปลวรังสีเพลิงจำนวนมากกว่า 500 เส้นประดับปลายเพชรอยู่ท่ามกลางวงล้อมจำลองแบบสนามแม่เหล็กรอบดาวฤกษ์ทำจากโครงลวดทองคำเฉดเหลืองสกาวฝังไพลินเหลืองกับเพชรตามจุดตัดตำแหน่งต่างๆ และเมื่อระบบขับเคลื่อนของจักรกลเริ่มทำงาน เส้นทองคำต่างเปลวรังสีความร้อนสุกสว่างทั้งหลายพลันไหวกระเพื่อม สืบเนื่องจาก “ระบบสั่น” (trembleur) ในจักรกล แม้จะมีการขยับเคลื่อนเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้รัตนชาติทั้งหลายจรัสประกายระยิบระยับไปตามแรงแผ่วสะเทือน
บนเส้นวงวิถีโคจรรอบดวงอาทิตย์ คือดาวเคราะห์รูปทรงสามมิติต่างขนาด ดาวพุธทำจากหินมุกดา (moonstone) ในวงล้อมของโครงทองคำขาวประดับไพลินกับเพชร ในขณะที่ดาวศุกร์โมราสีเขียว (agate) หลากเฉดจรัสประกายล้อแสงอยู่ในวงล้อมของกรอบทองคำสีกุหลาบรองรับลีลาสลับเฉดของไพลินสีม่วงกับสีเหลือง ส่วนดาวเคราะห์โลกโดดเด่นอย่างภาคภูมิด้วยการนำสมุทรจักรวาล หรือคริโซคอลลา (chrysocolla) ซึ่งเป็นหินประสานทองชนิดหนึ่งมาใช้ในงานสร้างสรรค์เป็นครั้งแรกของเมซง และทวีความโดดเด่นอยู่ในกรอบเส้นทองคำขาวคดเคี้ยวจำลองการไหลเวียนของสนามแม่เหล็กในชั้นบรรยากาศรองรับความกลมกลืนทางเนื้อสีระยับแสงของมรกต และพลอยรุ้งทุรมาลีสีฟ้าสดอมเขียวกระจ่างเสมือนน้ำทะเลพาไรบา (Paraíba-like tourmaline) เคียงข้างกันนั้นคือดวงจันทร์บริวารทอประกายสกาวแสงเรืองรองของแก้วราหู (opal) บนโครงสร้างทองคำขาวกับทองคำสีเหลืองฝังเพชรตัดกับสีน้ำเงินเข้มมิดไนท์บลูของพื้นจักรวาลอย่างชัดเจน ในลำดับถัดออกมาจากวิถีโคจรคือดาวอังคารทำจากโมราแดงเพลิง (carnelian) เนื้อสีโทนอุ่นจรัสประกายอย่างโดดเด่นเมื่ออยู่ร่วมกับกรอบโครงสร้างทองคำสีกุหลาบประดับไพลินสีชมพูสลับเพชร สำหรับวงโคจรรอบนอกคือหยกพยับหมอกคาลเซโดนี (chalcedony) ขนาดใหญ่ต่างดาวพฤหัสบดีอยู่ในใจกลางวงล้อมทองคำเฉดเหลืองประดับโกเมนส้มสเปซซาไทท์กับเพชร และดาวเสาร์โมราสลับลาย (jasper) ในวงแหวนทองคำขาวฝังไพลินสลับเพชรคือผู้ครอบครองตำแหน่งท้ายสุด
และเพื่อถ่ายทอดความลึกล้ำของห้วงเวหนจักรวาลไกลโพ้นได้อย่างสมจริง แก้วสีหยกหรืออาเวนทูรีน (aventurine) ที่ผ่านการตัดเจียนเป็นแผ่นกลมทั้งเก้าถูกนำมาจัดลำดับเรียงซ้อนให้มีศูนย์กลางอยู่ร่วมกันภายในวงหน้าปัด แผ่นแก้วสีหยกเฉดน้ำเงินเข้มมิดไนท์บลูจำนวนครึ่งหนึ่งนั้นรองรับการติดตั้งกลไกขับเคลื่อนแยกส่วนเป็นหน่วยเฉพาะของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ดาวเคราะห์กับดาวตกจึงสามารถเคลื่อนดวงตามจังหวะของตนบนวิถีโคจรโดยรอบท่ามกลางบรรยากาศระยิบระยับ เป็นงานประกอบชิ้นส่วนอันก่อให้เกิดมิติคู่ขนานทางอารมณ์ นั่นก็คือภวังค์ฝันราวกับกำลังล่องลอยอยู่ในเวิ้งจักรวาล ท่องไปตามตำแหน่งดาวดวงต่างๆ ท่ามกลางความพิศวง และชื่นชมต่อความงดงามของงานฝีมือสุดวิจิตรบรรจง
Fontaine aux Oiseaux automaton
นาฬิกาตั้งโต๊ะหุ่นกล “คู่วิหคบนอ่างน้ำพุ” Fontaine aux Oiseaux automaton (ฟงแตโนซัวโซโซโตมาตง)
ความสูง: 44.15 ซม.
ความกว้าง: 41.13 ซม.
จักรยนต์ และกลไกขับเคลื่อนทั้งหลายประกอบไปด้วยระบบเข็มตีกลับสำหรับบอกชั่วโมง และนาที, แหล่งพลังงานสำรองก่อนนาฬิกาหยุดเดิน 8 วัน ขับเคลื่อน และบอกเวลาตามสั่ง
ระบบเสียงประกอบได้รับการออกแบบขึ้นเป็นพิเศษสำหรับผลงานชิ้นนี้โดยอาศัยกลไกเครื่องสูบลมจำลองเสียงนกร้องสลับขันคูร่วมกับไม้บีช
ฐานโครงสร้างทำจากทองคำขาวร่วมกับทองคำเฉดเหลืองรองรับงานตกแต่งเคลือบเงาแล็กเกอร์สูตรพืชสกัด, งานฝังลายด้วยแผ่นเปลือกไข่,
ไม้มะเกลือ, แก้ว, ไพลินสีม่วง, มรกต, โกเมนเขียวส่องซาโวไรท์, เพชร, อะลูมิเนียม, โลหะเหล็กกล้า, งานชุบเคลือบผิวแข็งแบบพีวีดีสีดำ และหนังแพะ
ในส่วนของระลอกคลื่นลดหลั่นบนผืนน้ำคืองานตกแต่งด้วยการใช้แผ่นหยกพยับหมอกแกลเซโดนีร่วมกับแก้วหินคริสตัลบนรางอะลูมิเนียม
นกตัวผู้ทำจากทองคำเฉดเหลืองและทองคำขาวรองรับงานประดับไพลินหลากสี, มรกต, โกเมนเขียวส่องซาโวไรท์,
เพชร และพลอยสมุทรลาพิซ ลาซูลิ
นกตัวเมียทำจากทองคำเฉดเหลืองและทองคำขาวรองรับงานประดับไพลินหลากสี, โกเมนสีส้มแมนดาริน, พลอยดอกตะแบก,
เพชร และหินไข่นกการเวก
ดอกไม้ต่างๆ ทำจากทองคำเฉดเหลืองร่วมกับทองคำสีกุหลาบรองรับงานตกแต่งไพลินหลากสี, งานลงยาเนื้อสีทึบแสง,
ใบบัวทำจากทองคำเฉดเหลืองเคลือบเงาแล็กเกอร์
แมลงปอตัวเรือนทองคำขาวรองรับงานประดับไพลิน, เพชร, แผ่นแม่มุมมาเธอร์-ออฟ-เพิร์ลฝังลายสลับทองคำขาว, งานลงยาลายฉลุปลิกาฌูร และติดตั้งกลไกขับเคลื่อนทำจากโลหะเหล็กกล้า
ถึงเวลาสำหรับเรื่องราวแห่งความรัก
ด้วยงานประกอบกลไกขับเคลื่อนตามสั่ง เข้ากับระบบตีเข็มย้อนกลับสำหรับบอกเวลา นำมาซึ่งปรากฏการณ์คู่ขนานสุดตระการตาจากผลงานเหนือสามัญชิ้นนี้ อันดับแรกนั้นก็คือ บนแนวขอบข้างของฐานโครงสร้างอ่างน้ำพุ ขนนกเส้นเดี่ยวจะเคลื่อนตัวอย่างต่อเนื่องไปตลอดหน่วยบอกเวลาจนเมื่อถึงเลข 12 นาฬิกา จึงย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นใหม่เพื่อดำเนินหน้าที่บอกเวลาครึ่งวันที่เหลืออีกครั้ง
ส่วนความอัศจรรย์บนอ่างน้ำพุบังเกิดขึ้นหลังจากทำการไขลานห้าครั้งเพื่อเปิดระบบกลไกทั้งหมดของโครงสร้าง เมื่อนั้นเองที่จักรกลทั้งหลายคล้ายมีชีวิตขึ้นโดยพลันเพื่อมอบฉากสุดตระการอันยากจะละสายตาตลอดเวลาหนึ่งนาที ไม่ว่าจะเป็นพลิ้วระลอกคลื่นบนผืนน้ำที่กระเพื่อมไหวเป็นจังหวะราวต้องสายลมโชยพัดแผ่วละมุน หรือกลีบดอกบัวที่ค่อยๆ แย้มบานขานรับแมลงปอตัวน้อยซึ่งขยับปีกกระพือเพื่อลอยตัวขึ้น และบินวนไปโดยรอบ ส่วนนกคู่ที่เกาะตัวบนขอบอ่างก็คล้ายตื่นจากหลับใหล ทำการขับขานเพลงปักษีซึ่งอาศัยการทำงานประสานกันระหว่างเครื่องลมกับกล่องกล (clicking box) ในการจำลองเสียงร้องสลับขันคูเป็นลำดับ ในขณะเดียวกันก็ยังแสดงอากัปยกหัวขยับปีกเสมือนกำลังเกี้ยวพาหยอกล้อกันและกัน ระหว่างที่ค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้าหากัน ขาทั้งสองซึ่งเป็นงานประกอบชิ้นส่วนสุดพิถีพิถัน จะทำการขยับยกขึ้นสลับกันได้อย่างสมจริง จนเมื่อปรากฏการณ์ธรรมชาติสุดตราตรึงนี้จบสิ้น แมลงปอก็จะกลับไปยังที่พำนักของตนเช่นเดียวกับสองวิหคที่ต่างแยกไปประจำยังตำแหน่งเดิม และกลีบดอกบัวก็ค่อยๆ หุบกลับไปเป็นดอกตูมอย่างแช่มช้อย
งานระดมความสามารถหลากแขนง
ในการสร้างสรรค์นาฬิกาตั้งโต๊ะหุ่นกล “คู่วิหคบนอ่างน้ำพุ” Fontaine aux Oiseaux automaton (ฟงแตโนซัวโซโซโตมาตง) จำเป็นต้องอาศัยฝีมืออันเป็นเลิศของบรรดาช่างหัตถศิลป์ผู้ต่างมีความชำนาญเหนือชั้นในสาขาเฉพาะของตน หลังงานออกแบบนาฬิกาหุ่นกลปทุมอัปสรหรือ “เฟ องดีน” (Fée Ondine automaton) ขึ้นเป็นศิลปวัตถุเหนือสามัญลำดับแรกในคอลเลคชัน Extraordinary Object และทำการเปิดตัวไปเมื่อปี 2017 นี่เป็นอีกครั้งที่ Van Cleef & Arpels ได้กลับมาร่วมงานกับห้องปฏิบัติการงานผลิตหัตถศิลป์แขนงต่างๆ อันเลื่องชื่อทั้งในฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์อย่าง Meilleur Ouvrier de France (เมยเยอรูวรีเยร เดอ ฟรองส์: สุดยอดศิลปการฝรั่งเศส) และ Entreprise du Patrimoine Vivant (อองเตรอพรีซ ดู ปาตรีมวน วิวอง หรือ Living Heritage Company)
ประสบการณ์คร่ำหวอดในวงการของฟรองซัวส์ ฌูโนด์ (François Junod) ประดิษฐกรหุ่นกลผู้มีสำนักงานอยู่ในเขตแซงต์-ครัวซ์ของสวิตเซอร์แลนด์ ได้หลอมรวมเข้ากับทักษะความชำนาญชั้นสูงของเหล่าช่างเจียระไนอัญมณี, ช่างขึ้นโครงสร้างตัวเรือนเครื่องประดับ, ช่างฝังรัตนชาติขึ้นตัวเรือน, ช่างลงยา และช่างทำตู้ไม้ งานระดมความสามารถเหนือชั้นเชิงหัตถศิลป์ต่างสาขาครั้งนี้ นำมาซึ่งการสื่อสารแลกเปลี่ยน และแบ่งปันไหวพริบในการพลิกแพลงทักษะความชำนาญแขนงต่างๆ เป็นการขยายโลกทัศน์เพื่อให้ผลงานสุดวิจิตรบรรจงชิ้นนี้มอบความอัศจรรย์ดั่งเลือดเนื้อ และชีวิตที่ถูกลิขิตลงสู่หุ่นพยนต์
งานวิเคราะห์ และแยกย่อยกิริยาการเคลื่อนไหวเพื่อจำแลงท่วงท่าอากัปตามธรรมชาติวิสัยของมวลปักษา ได้ดำเนินขึ้นควบคู่ไปกับการคำนวณสัดส่วนสำหรับประกอบกลไกการทำงานบนคู่ปีก รวมถึงมีการใช้กระบวนการแปลงคลื่นสัญญาณสั่งงาน ควบคุมการเคลื่อนไหวลักษณะต่างๆ ทั้งหลายเหล่านั้นให้สอดคล้อง กลมกลืน และลื่นไหล...โจทย์ท้าทายความสามารถเกิดขึ้นใหม่ราวกับไม่มีวันจบสิ้น เช่นเดียวกับที่ต้องมีการศึกษาวิจัยอยู่ตลอดเวลาจากขั้นตอนของการออกแบบไปจนถึงขั้นตอนตกแต่ง และเก็บงานลำดับสุดท้าย นับเป็นความภาคภูมิ, ปลื้มปีติ และตื้นตันใจอย่างยิ่งของเมซง ที่สามารถระดมทักษะความชำนาญอันทรงคุณค่า และหายากทั้งหลายเหล่านี้มาหลอมรวมร่วมกันเพื่อบรรจุภารกิจครั้งใหม่
ผลงานชิ้นใหม่ในคอลเลคชัน Extraordinary Object นี้ ต้องใช้เวลาทำงานเฉพาะในส่วนของห้องปฏิบัติการงานผลิตแผนกต่างๆ ของ Van Cleef & Arpels นานกว่า 4,300 ชั่วโมง และสิริรวมคือมากกว่า 25,200 ชั่วโมงในการหลอมรวมทักษะความสามารถสาขาต่างๆ จากน้ำมือมนุษยชาติเพื่อก่อกำเนิดคู่วิหคขึ้นเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ ตัวแทนความเป็นเลิศของเมซง
“โครงการต่างๆ ในรูปแบบนี้ ได้ช่วยขยายขอบเขตทักษะความสามารถ ตลอดจนเพิ่มพูนไหวพริบในการพลิกแพลงความชำนาญแขนงต่างๆ ของเราให้กว้างไกลออกไปอย่างต่อเนื่อง ความหลากหลายของโจทย์ท้าทายในเชิงเทคนิค ทำให้เราเกิดข้อสงสัย และตั้งคำถามอันนำไปสู่การพัฒนาทักษะ ความสามารถใหม่ๆ ขึ้นอยู่ตลอดเวลา นี่เป็นประสบการณ์ที่ช่วยยกระดับขีดคั่นของมวลมนุษยชาตินอกเหนือจากการเติมเต็มความรู้ ความเข้าใจในเชิงเทคนิค เพราะทุกสิ่งที่ต้องเผชิญ เกื้อหนุนให้เราได้เรียนรู้ ฝึกฝน ทดลอง และมีการแลกเปลี่ยนขอบข่ายความชำนาญในสาขาใหม่ๆ ท้ายสุด เมื่อผลงานเหล่านั้นเสร็จสมบูรณ์เป็นตัวตน ก็นำมาซึ่งความสุข และความพึงพอใจอย่างยิ่งยวด เพราะไม่มีอะไรที่น่ามหัศจรรย์เกินไปกว่าการเคลื่อนไหวไปตามวัฏจักรธรรมชาติอีกแล้ว”
เกรกอรี วายน์สต็อก, ผู้อำนวยการแผนกห้องปฏิบัติการงานผลิตเครื่องประดับชั้นสูง (High Jewelry Workshops) ของ Van Cleef & Arpels
“สิ่งสำคัญอันดับแรกเลยนั้นก็คือ โครงการพิเศษเหนือธรรมดาที่ยากจะเกิดขึ้นได้ทั่วไปนี้ เป็นเหมือนฝันกลางวันอันนำมาซึ่งงานระดมช่างศิลป์ระดับแถวหน้าหลากสาขา สำหรับผมนั้น นี่ยังเป็นก้าวกระโดดลงสู่ดินแดนมหัศจรรย์ในวงการหุ่นจักรกลร่วมสมัย พอๆ กับเป็นโจทย์ท้าทายความสามารถครั้งสำคัญ ซึ่งทำให้ต้องทุ่มเทกับการศึกษาวิจัย และพัฒนาทุกรายละเอียดของกลไกขับเคลื่อนระบบต่างๆ ผมรู้สึกถึงอารมณ์อันหลากหลายระหว่างดำเนินงานทดสอบในช่วงแรกๆ กับการเคลื่อนไหวของระลอกคลื่นบนผืนน้ำ และการลอยตัวบินวนของหุ่นยนต์แมลงปอ ความอัศจรรย์ของวัตถุประดับชิ้นมหึมากับความประทับใจในการเคลื่อนไหวดุจมีชีวิตจริงของนกคู่บนอ่างน้ำพุ คือประสบการณ์สุดตระการตาอย่างแท้จริง”
ฟรองซัวส์ ฌูโนด์, ประดิษฐกรงานหุ่นจักรกล
“เราทุกคนต้องพึ่งพากันและกัน เป็นความรู้สึกอัศจรรย์ใจอย่างยิ่งที่ได้เห็นว่างานฝีมือของแต่ละบุคคลล้วนเสริมส่ง และทวีความโดดเด่นให้แก่งานฝีมือต่างสาขา นี่เป็นเสมือนรางวัลตอบแทนความมุมานะ มุ่งมั่นของพวกเรา”
กาเธอรีน นิโคลาส์, ช่างฝีมืองานลงยา และเจ้าหน้าที่ช่างศิลป์ของ Meilleur Ouvrier de France
“การทำงานครั้งนี้นำมาซึ่งความปลาบปลื้ม ภาคภูมิใจ และถือเป็นเกียรติภูมิอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานสุดซับซ้อนอันหาได้ยากยิ่ง การเผชิญหน้ากับบรรดาโจทย์ท้าทายทางเทคนิคสุดหินทั้งหลายกลายเป็นโอกาสอันงดงามของชีวิต และการได้แสดงฝีมือร่วมกันสรรค์สร้างหัตถศิลป์ อันนำมาซึ่งแรงบันดาลใจ จุดประกายจินตนาการให้แก่ทุกคนที่ได้พบเห็นครั้งนี้ นับเป็นการร่วมงานอันทรงเกียรติอย่างแท้จริง”
นาธาลี มูลเลอร์, ช่างอัญมณีประจำแผนกปฏิบัติการงานผลิตเครื่องประดับประจำกรุงปารีส (Joaillerie Parisienne Workshop)
คู่วิหค
ด้วยความปรารถนาที่จะเลียนแบบการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติให้สมจริงอย่างที่สุด นกทั้งสองได้รับการออกแบบ และขึ้นแบบเป็นโครงสร้างตัวเรือนทองคำก่อนทำการประดับตกแต่งด้วยบรรดาหินรัตนชาติหลากสีสุกสว่างสดใส สำหรับนกตัวผู้ มีสัญลักษณ์บ่งชี้จากขนหงอนบนศีรษะที่จะแผ่ตัวออกระหว่างการเคลื่อนไหวนอกเหนือจากงานฝังพลอยสมุทรลาพิซ ลาซูลิสีฟ้าสดบนแผ่นหลังให้ดูเข้ากับส่วนขนอกที่ใช้งานฝังไพลินสีน้ำเงินกับสีม่วงไล่เฉดสลับลายกับมรกต และโกเมนเขียวส่องซาโวไรท์อย่างกลมกลืน ส่วนรายละเอียดของขนปีกทวีความคมชัดด้วยงานฝังไพลินเจียระไนทรงลูกแพร์ ในขณะที่ดวงตาแต่ละข้างจะใช้ไพลินหลังเบี้ยเม็ดเดี่ยวฝังลงในวงล้อมทองคำขาวฝังเพชร ส่วนนกตัวเมียจะจำแนกแยกเพศได้จากพวงขนด้านหลังที่ประดับหินไข่นกการเวก ร่วมกับการใช้สีโทนอุ่นตรงช่วงหน้าอกผ่านงานไล่เฉดละมุนละไมของไพลินสีม่วงและชมพู กับทับทิม และโกเมนสีส้ม รายละเอียดบนปีกทั้งสองก็โดดเด่นเช่น
เดียวกันจากการฝังไพลินทรงลูกแพร์แบบเดียวกับนกตัวผู้ กระนั้นก็กลมกลืนกับลูกเล่นสีของตัวเอง นอกจากนั้น นางนกยังมีลูกเล่นขยิบนัยน์ตาลูกปัดพลอยดอกตะแบกอะเมธิสต์สีม่วงสดอย่างซุกซนระหว่างขยับตัวเคลื่อนไปหาคู่ของตน
งานติดตั้งกลไกที่ซ่อนไว้ในส่วนฐานโครงสร้างอย่างระมัดระวัง และมิดชิด อำนวยให้การเคลื่อนไหวของนกทั้งสองดำเนินไปอย่างราบรื่น และงามสง่า รายละเอียดสุดแยบยลในแง่มุมต่างๆ อย่างการขยับปีกกระพือน้อยๆ หรือจังหวะการกะพริบของเปลือกตา และการยกเท้าทีละข้าง ล้วนเกิด
ขึ้นได้จากความเชี่ยวชาญด้านกลไกสุดประณีต เป็นความพิถีพิถันเหนือชั้นในการสร้างทัศนียภาพสุดตระการตา อย่างที่ไม่ว่าใครได้พบเห็นจะต้องตื่นตะลึงจนมิอาจละสายตา พร้อมดื่มด่ำไปกับความอ่อนช้อย วิจิตรบรรจงอันถือกำเนิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์
น้ำในอ่าง
น้ำในอ่าง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนพื้นฉากทวีความพิศวง ชวนตื่นตาตื่นใจให้แก่นาฬิกาตั้งโต๊ะหุ่นกลวิหคคู่เกาะอ่างน้ำพุ Fontaine aux Oiseaux (ฟงแตโนซัวโซซ์) เรือนนี้ ถูกประดิษฐ์ขึ้นจากแท่งหินรัตนชาติถึงห้าสิบชิ้น ที่จะขยับเคลื่อนกระเพื่อมขึ้นลงอย่างเนิบนาบเป็นระลอกคลื่นภายใต้แผ่วสายลมโชยพัดระหว่างกลไกเริ่มทำงานตามระบบไขลาน ลูกเล่นไล่เฉดสลับโทนระหว่างหยกพยับหมอกแกลเซโดนีกับแก้วหินคริสตัล นำมาซึ่งประกายสีสุกใสระยิบระยับเสมือนริ้วคลื่นบนผืนน้ำยามต้องแสงได้อย่างเสมือนจริง แท่งหินรัตนชาติเหล่านี้ล้วนผ่านการตัด และเจียระไนให้ได้รูปทรงก่อนนำมาฝังยึดทีละหนึ่งชิ้นลงบนกลไกซึ่งอาศัยระบบรางโลหะแบบเดียวกับที่ใช้ในงานฝังอัญมณีขึ้นตัวเรือนแบบซ่อนหนามเตย (Mystery Set technique) การเคลื่อนไหวเป็นจังหวะเนิบนาบของพลิ้วคลื่นลดหลั่นไล่กันเป็นระลอกเช่นนี้ เป็นผลจากการศึกษา วิจัยอย่างละเอียดเพื่อให้แต่ละชิ้นส่วนมีการขยับเขยื้อนอย่างลื่นไหล ในขณะที่ใบบัวกับดอกบัวซึ่งลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ ก็อาศัยระบบบานพับในการติดตั้งเพื่อให้ราชินีแห่งไม้น้ำมีการกระเพื่อมตัวขึ้นลงไปตามจังหวะของพลิ้วระลอกคลื่นอย่างกลมกลืน
แมลงปอ
สำหรับลีลาโบยบินดุจเริงระบำของแมลงปอซึ่งเปิดฉากขึ้นทันทีเมื่อเสร็จสิ้นการไขลานตรงฐานนาฬิกาตั้งโต๊ะเรือนนี้ การลอยตัวของแมลงปีกบางขึ้นสู่อากาศต้องอาศัยงานศึกษาวิจัยขยายผล ในส่วนลำตัวของแมลงประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนทองคำขาวฝังเพชรสามตอน นั่นก็คือส่วนหัว, ส่วนหน้าอกซึ่งเป็นตำแหน่งยึดปีกกับขาพร้อมหน่วยกลไกย่อส่วน และสุดท้ายก็คือส่วนของช่องท้องที่มีขดสปริงรองรับ ปีกทั้งสองคู่ คือคู่บน และล่างล้วนตีกระพือต่างจังหวะ เผยความงดงามสะกดสายตาได้จากทุกมุมมองระหว่างแมลงปอตัวน้อยบินวนอวดปีกสุดวิจิตรบรรจงด้วยงานฝังแผ่นแม่มุก (mother-of-pearl) สีขาวฝังด้ายทองเส้นเล็กเดินลวดลายร่วมกับงานลงยาลายฉลุ (plique-à-jour enamel: ปลิกาฌูร) ก่อลีลาไล่สีเหลื่อมเฉดระยิบระยับอย่างละเมียดละไมในขณะเดียวกับที่บรรดาเพชรซึ่งถูกฝังเรียงเป็นเส้นคั่นระหว่างงานลงยากับแผ่นแม่มุกยังช่วยทวีประกายโปร่งแสงเจิดจรัสของวัสดุตกแต่งทั้งหลายไปพร้อมกัน ส่วนไพลินหลังเบี้ยสองเม็ดต่างดวงตาของแมลงปอ คือบทเติมเต็มความเลอค่าลำดับสุดท้าย
“การสร้างสรรค์ประดิษฐกรรมหุ่นกลแมลงปอชิ้นนี้ คือโจทย์ท้าทายความสามารถขนานแท้ ความยากในการทำงานเกี่ยวข้องกับส่วนมิติโครงสร้างของแมลงปอ ซึ่งต้องสามารถขยับปีกกระพือได้ถึงแม้จะมีขนาดเล็กมาก พร้อมกันนั้นก็คือการใช้วัสดุซึ่งต้องมีความเปราะบางอย่างยิ่ง อาทิแผ่นงานลงยา และแผ่นแม่มุกฝังลายทอง ด้วยการเฝ้าสังเกตธรรมชาติอย่างใส่ใจ เราพยายามที่จะจำลองทุกรายละเอียดให้ครบถ้วนอย่างที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อให้ได้หุ่นกลแมลงปอเสมือนจริงอย่างที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ทั้งในแง่ของรูปลักษณ์ และการเคลื่อนไหว”
นาธาลี มูลเลอร์, ช่างอัญมณีประจำแผนกปฏิบัติการงานผลิตเครื่องประดับประจำกรุงปารีส (Joaillerie Parisienne Workshop)
ใบ และกลีบของดอกบัว
กลีบดอกบอบบางของบัววิกตอเรีย หนึ่งในสายพันธุ์ของบัวสายอุบลชาติ ได้รับการตัดแต่ง จัดรูปทรงด้วยมือก่อนดำเนินงานลงยาเคลือบสีเนื้อเงา และเพราะขนาด รวมถึงสัณฐานทรวดทรงของกลีบวงดอกที่ค่อนข้างใหญ่ กับความเสี่ยงที่จะดัดทรงแผ่นโลหะบิดเบี้ยวผิดรูประหว่างลนไฟ นี่จึงเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการจัดทรงวงกลีบซึ่งต้องการความละเอียดอ่อน และเบามือเป็นพิเศษอย่างยิ่ง ส่วนงานลงยาสีเคลือบสีขององค์ประกอบส่วนนี้ จำต้องอาศัยเทคนิคประยุกต์พิเศษเพื่อก่อลีลาไล่เฉดเหลื่อมโทนอย่างละเมียดละไมจากชมพูพาสเทลไปสู่ม่วงสด แต่ละชิ้นส่วนต้องมีน้ำหนักเบาให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพราะกลีบดอกทั้งหลายจะมีการเคลื่อนไหวในลักษณะแย้มบานออกไป และหุบกลีบกลับเข้ามาเป็นดอกตูมตามระบบขับเคลื่อนของกลไกควบคุม
บรรดาใบบัวที่ลอยตัวบนผืนน้ำ ก็เป็นอีกประเด็นให้ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ แต่ละใบคือเวทีแสดงฝีมืองานลงเคลือบชักเงาลงกรอบลายที่เรียกว่า “กลัวซงเน” (cloisonné lacquer work) อันเป็นเทคนิคผสมระหว่างงานประติมากรรมโลหะ ซึ่งในกรณีนี้คือทองคำขึ้นโครงโปร่งเป็นทรงวงใบเดินลายเส้นภายในเนื้องานเพื่อรองรับเนื้อสีชักเงาที่จะประดับลงในช่องว่างระหว่างเส้นกรอบ กระบวนการลงเนื้อสีเคลือบเงาเติมลงในช่องโปร่งของกรอบลายเสมือนงาน “ฟาลัง” บนเฟี้ยมกั้นห้องของชาวจีนนี้ เป็นงานฝีมือล้วนโดยอาศัยทักษะตามธรรมเนียมดั้งเดิมจากขั้นตอนของการผสมผงสีลงยาไปจนถึงการติดตั้งวัสดุลงบนฐานโครงสร้าง, งานขัดผิวด้วยกระดาษทรายบนแผ่นเนื้องานแต่ละชิ้น จนถึงการขัดเงาลำดับสุดท้าย และนี่นำมาซึ่งการเผชิญหน้ากับโจทย์ท้าทายอีกครั้ง นั่นก็คือการหลอมรวมโลหะทองเฉดเหลืองที่ใช้เดินลายเป็นเส้นใบให้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับเนื้อสีลงยา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดังนั้น เทคนิคแอร์บรัช (airbrush) หรือการลงเนื้อสีเคลือบเงาผ่านระบบพ่นอากาศ จึงถูกนำมาใช้ร่วมกับงานประกอบเคลือบสีแต่ละชั้นตามลำดับเพื่อก่อลีลาไล่เฉดโทนเขียวขจีได้อย่างละเมียดละไมเสมือนใบบัวธรรมชาติอย่างแท้จริง
“เคลือบมัน” หรือ “กลาซีส์” (glacis) โปร่งใสถูกนำมาประกบทับลงไปเป็นอันดับสุดท้ายเพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์แบบของงานสี พร้อมกับเติมประกายเงางามตามธรรมชาติของใบบัวได้อย่างสมจริง
“ขณะทำงานกับแล็กเกอร์เคลือบสีเนื้อเงาลงบนชิ้นงานอันเต็มไปด้วยรายละเอียดนูนต่ำจำนวนมากขนาดนี้ ดิฉันจำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะ และเนื้อสัมผัสของวัสดุในทุกแง่มุมไว้ในใจอย่างแม่นยำตลอดเวลาที่ขยับมือไปในทิศทางต่างๆ เพราะไม่มีทางให้เริ่มต้นใหม่ได้อีกถ้าเกิดข้อผิดพลาด”
กาเธอรีน นิโคลาส์, ช่างฝีมืองานลงยา และเจ้าหน้าที่ช่างศิลป์ของ Meilleur Ouvrier de France
อ่างน้ำพุ
ฐานโครงสร้างของตัวเรือนนาฬิกาตั้งโต๊ะ ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในรูปทรงของอ่างน้ำทำจากกล่องไม้หุ้มแผ่นประดับงานฝังเปลือกไข่ (eggshell marquetry) เดินลวดลาย อันเป็นเทคนิคเดียวกับ “รันกุกุ” (Rankuku) ในญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าทันสมัย และเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในยุคเรืองรองของ “อลังการศิลป์” หรือ “อาร์ตเดโค” ดังจะเห็นได้จากศิลปวัตถุหลายชิ้นระหว่างทศวรรษ 1920 ต้องอาศัยความละเอียดอ่อน พิถีพิถันอย่างสูงเพราะแต่ละองค์ประกอบล้วนได้รับการฝังประดับจัดตำแหน่งลงบนส่วนฐานโครงสร้างด้วยมือล้วนๆ ทั้งสิ้น
“ดิฉันได้ค้นพบ และทำความรู้จักเทคนิคการฝังเกล็ดเปลือกไข่เดินลวดลายนี้ในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานฝีมือหลายชิ้นในเวียตนาม ลวดลายเหมือนโมเสค หรืองานฝังมุกบนตู้ไม้เกิดจากลูกเล่นเชิงมิติ และตำแหน่งที่ต่อเนื่อง กลมกลืน ในการทำงาน ดิฉันพยายามจัดตำแหน่งแผ่นเปลือกไข่ชิ้นเล็กๆ ที่ตัดให้ได้รูปทรง ให้ไล่เรียงขนานกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อก่อลวดลายอันงดงามให้ปรากฏต่อสายตา”
กาเธอรีน นิโคลาส์, ช่างฝีมืองานลงยา และเจ้าหน้าที่ช่างศิลป์ของ Meilleur Ouvrier de France
เทคนิคการฝังแผ่นเปลือกไข่แบบงานไม้ฝังมุก ได้รับการเติมเต็มด้วยการเคลือบเงาสูตรพืชสกัดหรือ vegetal lacquer เป็นความประณีต พิถีพิถันเหนือชั้นโดยอาศัยเทคนิคเคลือบสีชักเงาที่ใช้กับเครื่องเขินอูรูชิ (Urushi lacquer) แบบญี่ปุ่นแท้ น้ำยาชักเงาเนื้อสีโปร่งใสอันเกิดจากผงสีสกัดจากพืชนี้ ได้มาจากยางของต้นรักหรือที่เรียกว่ายางรักสำหรับใช้ในงานลงรักปิดทองอย่างที่คนไทยรู้จักกันดี และพบได้ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ในญี่ปุ่น คือยางของต้นอูรูชิ) ซึ่งได้จากการขูดผิว หรือทำให้เปลือกไม้ของต้นรักเกิดบาดแผล จากนั้น น้ำเลี้ยงภายในลำต้นก็จะถูกขับออกมาเพื่อทำการสมานแผลบนเปลือกไม้ พร้อมกับเป็นการพอกแผลป้องกันเชื้อโรคอย่างราต้นไม้แทรกซึมเข้าไปภายใน เมื่อน้ำเลี้ยงนี้สัมผัสกับอากาศภายนอกก็จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันเปลี่ยนเป็นน้ำยางสีขาว
ซึ่งช่างฝีมือจะใช้ยางขาวนี้มาสกัด และแปรรูปเป็นผงสีสำหรับงานลงรักเคลือบเงา และเพื่อให้ได้พื้นผิวที่รองรับงานปูพื้นฝังลายด้วยแผ่นเปลือกไข่มีความเรียบเนียนสม่ำเสมอราวกับเปลือกไข่เหล่านั้นได้หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกับพื้นวัสดุรองล่าง จึงจำเป็นต้องอาศัยการลงรักเคลือบเงาถึงแปดชั้น แต่ละชั้นนั้นยังต้องรอเป็นเวลานานกว่าน้ำรักจะแห้งสนิทถึง แล้วยังต้องผ่านงานฝีมือขัดผิวด้วยกระดาษทรายให้เรียบเนียนก่อนจึงจะเคลือบแล็กเกอร์ หรือน้ำรักลำดับต่อไปได้ ขั้นตอนสุดท้ายนี้ มีความซับซ้อนยุ่งยากเป็นอย่างยิ่งเพราะเปลือกไข่เองก็เป็นวัสดุที่บอบบาง และอาจเปลี่ยนสีได้หากสัมผัสกับการขัดสี
“เพื่อให้ลวดลายในตัววัสดุชิ้นงานมีความกลมกลืนอย่างสมบูรณ์ เราต้องคำนึงถึงการทำงานแบบสามมิติ และคิดถึงลำดับ กับความหนาของชั้นสีแต่ละชั้นที่ลงน้ำยารักเคลือบทับลงไป เราจะรับรู้ถึงความต่างอย่างแท้จริงได้เมื่อใช้เทคนิคงานฝังแผ่นเปลือกไข่ร่วมกับงานลงรักเคลือบเงาแบบเครื่องเขิน พื้นผิวที่ไม่สม่ำเสมอของเปลือกไข่ซึ่งฝังลวดลายจะต้องกลมกลืนราวหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเนื้อวัสดุ นั่นแหละคือผลลัพธ์ที่ต้องการในลำดับท้ายสุด”
กาเธอรีน นิโคลาส์, ช่างฝีมืองานลงยา และเจ้าหน้าที่ช่างศิลป์ของ Meilleur Ouvrier de France
Rêveries de Berylline automaton
นาฬิกาตั้งโต๊ะหุ่นกล “กรงฝันฮัมมิงเบิร์ด” Rêveries de Berylline automaton (แรฟเวอรีส์ เดอ เบริลลีน)
ความสูง: ประมาณ 27 ซม.
ความกว้าง: 21.5 ซม.
กลไกจักรยนต์ และระบบขับเคลื่อนบอกเวลา, แหล่งพลังงานสำรองก่อนนาฬิกาหยุดเดิน 8 วัน
ขับเคลื่อน และบอกเวลาตามสั่ง
กังวานเสียงใสเสนาะเป็นงานสร้างสรรค์พิเศษโดยอาศัยกลไกค้อนเคาะระฆังเสียง
ฐานโครงสร้างประกอบขึ้นจากทองคำสีเหลืองประดับเพชรบนแท่นหินแกรนิตแดงลายดอกพอร์ฟีรี, ฐานรองดอกทำจากพลอยน้ำสมุทรลาพิซลาซูลิ, แกนในโครงสร้างไม้มะเกลือ, ชิ้นส่วนอะลูมิเนียม, งานตกแต่งหนังแพะ
นกฮัมมิงเบิร์ดหัวเขียว (ฮัมมิงเบิร์ดเบริลลีน) ประกอบขึ้นจากตัวเรือนทองคำขาวรองรับงานฝังไพลินสีม่วง และน้ำเงินในส่วนขนท้องตัดกับแผ่นหลังฝังมรกต และโกเมนเขียวส่องซาโวไรท์
วงดอกไม้ประกอบขึ้นจากโครงสร้างตัวเรือนทองคำสีกุหลาบร่วมกับทองคำเฉดเหลืองรองรับงานประดับไพลินสีเหลือง, โกเมนสีส้มแมนดาริน, เพชร, งานเคลือบสีลงยาเนื้อเงา
พวงใบไม้ทำจากตัวเรือนทองคำเฉดเหลืองประดับเพชร
จากความอ่อนช้อยในธรรมชาติ
สู่ภวังค์แห่งอารมณ์
นาฬิกาตั้งโต๊ะหุ่นกล “กรงฝันฮัมมิงเบิร์ด” Rêveries de Berylline automaton (แรฟเวอรีส์ เดอ เบริลลีน) เป็นผลงานชิ้นแรกของคอลเลคชัน ซึ่งนำแรงบันดาลใจจากธรรมชาติอันเป็นหนึ่งในแนวทางการออกแบบที่เมซงนิยมชมชอบนับแต่ก่อตั้ง มาใช้ในการสร้างสรรค์ และพัฒนาร่วมกับห้องปฏิบัติการงานผลิตของฟรองซัวส์ ฌูโนด์ นี่คือนาฬิกาตั้งโต๊ะเจ้าของความสูง 30 เซนติเมตรรองรับงานขึ้นรูปวงดอกไม้ที่บรรจงแย้มกลีบผลิบานอย่างอ่อนช้อย เผยให้เห็นวิหคตัวน้อยซึ่งเร้นกายอยู่ภายใน
ดอกไม้อันถือกำเนิดขึ้นในสวนศรีแห่งจินตนาการดอกนี้ ขับเคลื่อนได้ด้วยระบบกลไกตามสั่ง โดยจะทำการเคลื่อนโครงกลีบรอบวงดอกให้บานออก เผยให้เห็นนกฮัมมิงเบิร์ดหัวเขียว (Berylline Hummingbird เป็นฮัมมิงเบิร์ดขนาดกลาง พบได้ในเม็กซิโก) ในท่วงท่าพร้อมออกบิน สำหรับกลไกบังคับการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวของตัวนกนั้น ต้องอาศัยเวลาหลายชั่วโมงไปกับการศึกษา วิจัย และทดลองระบบเพื่อให้ปีกทั้งสองยกตัวกางออก อีกทั้งยังขยับขึ้นสลับลงตามจังหวะธรรมชาติได้อย่างสมจริง จากนั้น นกฮัมมิงเบิร์ดก็จะลดตัวกลับลงไปยังที่เดิมตรงพวงเกสรศูนย์กลางของวงดอก พร้อมกับที่กลีบโลหะลงยาจะค่อยๆ หุบตัวเข้ามาล้อมปิดรอบตัวนกอย่างอ่อนช้อยเช่นเดียวกัน เสียงดนตรีที่ดังกังวานเป็นท่วงทำนองเสนาะโสตตลอดการเคลื่อนไหวทั้งหมด ได้รับการประพันธ์ขึ้นเป็นพิเศษสำหรับคอลเลคชันนี้ ส่วนก้านใบอะแคนธัส หรือที่คนไทยนิยมเรียกกันว่า “เหงือกปลาหมอ” นั้น ทำจากทองคำเฉดเหลืองผ่านกระบวนการขัดผิวขึ้นเงาราวกระจกรองรับงานฝังเพชรให้กลมกลืนกับดอกไม้ตรงฐานตัวเรือน ซึ่งจะเคลื่อนตัวไปตลอดแนวแถบวงแหวนคาดโดยรอบเพื่อทำหน้าที่บอกเวลา
“ความยากลำบากในการสร้างสรรค์นาฬิกาหุ่นกลเรือนนี้คงอยู่ที่น้ำหนักขององค์ประกอบส่วนต่างๆ เพื่อให้ระบบกลไกทำงานสัมพันธ์กันในระหว่างควบคุมการเคลื่อนไหวในทุกรายละเอียดโครงสร้างเป็นไปอย่างลื่นไหล และต่อเนื่อง ทุกชิ้นส่วนขององค์ประกอบทั้งหมดนี้ต้องมีน้ำหนักเบาอย่างที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และในฐานะช่างทำเครื่องประดับอัญมณี เราไม่คุ้นชินในการทำงานภายใต้ข้อจำกัดเช่นนี้เท่าไรนัก สำหรับหุ่นกลกรงฝันฮัมมิงเบิร์ด Rêveries de Berylline automaton เรือนนี้ เราทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับห้องปฏิบัติการงานผลิตของฟรองซัวส์ ฌูโนด์ ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำด้านประดิษฐกรรมหุ่นกล เพื่อให้งานออกแบบทั้งในส่วนของนกฮัมมิงเบิร์ด และดอกไม้ประสบความสำเร็จในการเคลื่อนไหวได้เสมือนจริง
อาลลอง ปาซซ์บง, รองผู้อำนวยการแผนกห้องปฏิบัติการงานผลิตเครื่องประดับอัญมณีชั้นสูงของ Van Cleef & Arpels
ไหวพริบพลิกแพลงทักษะหลากแขนง
มอบภวังค์ความงามสะกดอารมณ์
ฉากการแสดง “กรงฝันฮัมมิงเบิร์ด” บนเวทีของนาฬิกาตั้งโต๊ะหุ่นกลเรือนนี้ คือตัวแทนเกียรติภูมิในเชิงทักษะ ความสามารถทำงานฝีมือแขนงต่างๆ ตามขนบธรรมเนียมศิลป์อย่างแท้จริง เริ่มจากฐานโครงสร้างทั้งสองส่วนอันประกอบขึ้นจากประติมากรรมแท่นหินแกรนิตแดงลายดอกพอร์ฟีรี (red porphyry) ซ้อนกันสองชั้นกับส่วนฐานดอกทำจากพลอยสมุทรลาพิซ ลาซูลิ รงคศิลาทั้งสองล้วนผ่านการคัดเลือกอย่างพิถีพิถันโดยเหล่านักอัญมณศาสตร์ของ Van Cleef & Arpels ก่อนนำมาตัดเจียนให้ได้ขนาด และขัดผิวให้เรียบเนียนอย่างระมัดระวังเพื่อทวีความคมชัดของทุกรายละเอียดความงามตามธรรมชาติเนื้อหินอันบังเกิดจากเกล็ดละออง และสายแร่ที่ปะปนขึ้นเป็นลวดลายส่งประกายระยิบระยับอย่างกลมกลืน และต่อเนื่องโดยทั่วชิ้นงาน ผลลัพธ์นี้จึงถือเป็นหนึ่งในประจักษ์พยานบ่งชี้ถึงความชำนาญเหนือชั้นของเมซงในการคัดเลือกรงคศิลาอันยากจะพบเห็น หรือมีปรากฏในวงการเครื่องประดับอัญมณี นอกจากนั้น ไหวพริบในการพลิกแพลงทักษะงานศิลป์แขนงต่างๆ ทางการสรรค์สร้างเครื่องประดับชั้นสูงแห่ง Van Cleef & Arpels ยังนำมาซึ่งปักษีอัญมณีที่สามารถเคลื่อนไหวได้ดุจมีชีวิต บรรดารัตนชาติจรัสประกายระยิบระยับจับตาระหว่างปีกทั้งสองขยับไหว ต้องอาศัยความใส่ใจเป็นพิเศษในการคัด และเลือกพลอยเนื้ออ่อนเลอค่าเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของเฉดสีที่ต้องถ่ายทอดประกายแวววาวเป็นเงางามของพวงขนนกฮัมมิงเบิร์ดในธรรมชาติได้อย่างสมจริง ขณะเดียวกัน ไพลินสีม่วงอมชมพูเจียระไนทรงหยดน้ำหรือบริโยเล็ต (briolette-cut) ซึ่งดูเหมือนหยาดตัวลงมาจากปลายจะงอยปากนก ก็แกว่งไกวล้อแสงทอประกายวิบวับสลับสีไปมาได้อย่างละเมียดละไม
ท้ายสุด คือแต่ละกลีบบนวงดอกที่ร่วมกันครองตำแหน่งยอดมงกุฎของตัวเรือนนาฬิกาหุ่นกล ล้วนรองรับลีลาไล่เฉดเหลือบโทนละมุนละไมจากการใช้ทักษะสุดประณีตของงานลงยาสีเคลือบเงา อันเป็นร่วมงานกับกาเธอรีน นิโคลาส์ ช่างหัตถศิลป์งานลงยาจาก Meilleur Ouvrier de France (Best French Craftsman) ความละเอียดอ่อนช้อยของดอกไม้ในสวนแห่งจินตนาการดอกนี้ถือกำเนิดจากเทคนิคประยุกต์กรรมวิธีลำดับต่างๆ ของหัตถศิลป์ลงรักเครื่องเขินตามธรรมเนียมดั้งเดิมแบบเอเชียมาเป็นกระบวนการพ่นลมลงผงสีหรือที่เรียกว่าแอร์บรัช (airbrush) บนโครงสร้างตัวเรือนกลีบดอกทีละเส้นกลีบ เป็นการเคลือบสีไล่ระดับทีละครั้งหลายขั้นตอน เพื่อให้ทั้ง 36 กลีบดอกอวดลีลาไล่เฉดเหลือบโทนอย่างวิจิตรบรรจง และกลมกลืนเสมอกันกับแต่ละกลีบดอกที่อยู่ถัดไป
“ถือเป็นความปลื้มปิติอย่างยิ่งที่ได้เห็นชิ้นงานมีการเคลื่อนไหว ได้เห็นดอกไม้แย้มกลีบผลิบาน แล้วก็มีฮัมมิงเบิร์ดโผล่ออกมา ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านงานลงยาสีเคลือบเงา ย่อมเป็นเรื่องตื่นตาตื่นใจที่ได้ทำงานกับหุ่นจักรกล เพราะงานเคลือบเงาสีจะทวีความงามสง่าอย่างเต็มที่เมื่อมีการเคลื่อนไหว ก่อลีลาล้อแสงทอประกายสะกดสายตา”
กาเธอรีน นิโคลาส์, ช่างฝีมืองานลงยา และเจ้าหน้าที่ช่างศิลป์ของ Meilleur Ouvrier de France
“การแลกเปลี่ยนในเชิงทักษะ ความชำนาญแขนงต่างๆ ถือเป็นแรงกระตุ้นชั้นดี เพราะพอทุกคนได้ทำความรู้จัก คุ้นเคยกัน สิ่งที่ตามมาก็คือความเชื่อใจ ไว้วางใจ เป็นความผูกพันจากการทำงานร่วมกัน อันนำมาซึ่งความตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง! โครงการต่างๆ เหล่านี้อำนวยให้พวกเราได้ค้นพบ และเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ซึ่งถือเป็นการเดินทางผจญภัยอย่างหนึ่งของมวลมนุษยชาติ เราจับมือก้าวรุดหน้าไปพร้อมกัน ช่วยเติมเต็มกันและกัน และท้ายสุด ก็กลายเป็นความผูกพันตลอดไป”
อาลลอง ปาซซ์บง, รองผู้อำนวยการแผนกห้องปฏิบัติการงานผลิตเครื่องประดับอัญมณีชั้นสูงของ Van Cleef & Arpels
Poetic Complications
คอลเล็กชันนาฬิกาข้อมือ Poetic Complications เต็มไปด้วยความสลับซับซ้อนสุดวิจิตรบรรจงทางการบอกเวลาดุจโศลกบทกวีที่รจนาขึ้นจากการร้อยเรียงความอัศจรรย์ของบรรดาระบบกลไกในงานผลิตนาฬิกาข้อมือเข้ากับความเลอค่าแห่งมวลวัสดุ และรัตนชาติ โดยอาศัยใช้ไหวพริบพลิกแพลงทักษะความสามารถแขนงต่างๆ ให้มาประจักษ์ต่อสายตาบนหน้าปัด แต่ละผลงานสร้างสรรค์ คือบทบรรจบระหว่างนวัตกรรม และงานศึกษาวิจัย อันหลอมรวมลงสู่ความมหัศจรรย์สดใหม่ซึ่งมิอาจแยกจากกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบขับเคลื่อนแบบตีเข็มย้อนกลับหรือ “รีโทรเกรด” (retrograde movement), หน่วยกลไกบังคับกลีบดอกไม้ให้แย้มบาน และหุบปิด ตลอดจนช่องบอกนาทีปรากฏให้เห็นยามไล่สายตาไปตามทางเดินในสวนศรี หรือจับจ้องทุกลีลาอากัปของนางระบำปลายเท้า นอกเหนือจากสมรรถนะชั้นเลิศในเชิงเทคนิค กลไกอันทรงคุณสมบัติเหล่านี้ยังมอบช่วงเวลาล้ำค่าทางอารมณ์ เป็นบทสะท้อนถึงจินตนาการของ Van Cleef & Arpels อย่างแยบคาย
Lady Arpels Heures Florales กับ
Lady Arpels Heures Florales Cerisier
พฤกษาบอกเวลา
ราวกับบทฉันทลักษณ์อันสละสลวยซึ่งถูกร้อยรจนาขึ้นสรรเสริญความงามล้ำเลอค่าอันชวนให้หลงใหลตราตรึงใจของธรรมชาติมานับตั้งแต่ปี 1906 เมซงอาศัยแรงบันดาลใจจากแนวทางการออกแบบนาฬิกาดอกไม้ที่เรียกว่า Horologium Florae (โฮโรโลเจียม ฟลอแร) ซึ่งคาร์ล วอน ลินเน (Carl von Linné/ชื่อเดิมก่อนได้รับบรรดาศักดิ์คือคาร์ล ลินเนียส) ได้พัฒนาขึ้นระหว่างปี 1748 และมีตีพิมพ์เป็นหลักฐานปรากฏในหนังสือ “ปรัชญารุกขชาติ” หรือ Philosophia Botanica เมื่อปี 1751 จากหลายๆ ภาพประกอบของหนังสือเล่มนี้ จะเห็นได้ว่านักพฤกษศาสตร์สัญชาติสวีดิชผู้นี้ อธิบายถึงสวนสมมุติแบบต่างๆ อันอาศัยหลักการเดียวกับกลุ่มดาวนาฬิกา (กลุ่มดาวลูกตุ้มซึ่งมีชื่อเรียกว่า Horologium เช่นเดียวกัน) มาเทียบเคียงร่วมกับทฤษฎีการคัดสรรพรรณไม้ที่จะผลิดอกบาน และหุบกลีบของตนตามเวลาเฉพาะโดยจัดตำแหน่งอยู่ในวงกรอบนาฬิกาเพื่อให้ไม้ดอกแต่ละสายพันธุ์เหล่านั้นทำหน้าที่บอกเวลาตามพฤติกรรมธรรมชาติของตน อย่างเช่นดอกแดนดิไลออนจะบานตอนตีห้า หรือบัววิกตอเรียขาวจะบานตอนเจ็ดโมงเช้า และดาวเรืองฝรั่งที่จะหุบกลีบดอกตอนบ่ายสาม หรือฝิ่นประดับ (Iceland poppy) หุบกลีบตอนหนึ่งทุ่ม ส่วนดอกชมจันทร์ หรือดอกไม้จีนจะหุบกลีบตอนสองทุ่ม เป็นต้น
Van Cleef & Arpels นำหลักการเดียวกันนี้มารังสรรค์ขึ้นเป็นผลงานชิ้นใหม่อย่างที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนถึงสองรุ่นนั่นก็คือนาฬิกาข้อมือ Lady Arpels Heures Florales กับ Lady Arpels Heures Florales Cerisier เจ้าของหน้าปัดสามมิติซึ่งอาศัยการเคลื่อนไหวของกลีบดอกที่จะหุบปิด และผลิบานอย่างอ่อนช้อยทั้ง 12 ดอกมาเป็นสื่อบอกเวลาอย่างน่าอัศจรรย์ จังหวะสลับเปลี่ยนไปมาเหล่านี้ จะกลายเป็นฉากตระการตาชวนให้พิศวง และติดตามในทุกๆ 60 นาที
“โครงการนาฬิกาดอกไม้ Heures Florales ถือกำเนิดขึ้นจากการเผชิญหน้าระหว่างนักรุกขศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ กับผู้ผลิตนาฬิกาข้อมือที่มีกลไกพิเศษเหนือธรรมดา อันดับแรกก็คือคาร์ล วอน ลินเน ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากทฤษฎีการแบ่งประเภท และจัดลำดับสายพันธุ์พืช และสัตว์ กับแนวความคิดอันล้ำสมัยอย่างยิ่งในยุคของเขา นั่นก็คือสวนดอกไม้ซึ่งทำหน้าที่เป็นนาฬิกาบอกเวลา อันดับต่อมาก็คือ Van Cleef & Arpels เมซงผู้ผลิตเครื่องประดับ และนาฬิกาข้อมือ ซึ่งสนใจในแนวคิดอันเฉียบขาด และแยบคายของลินเนเกี่ยวกับนาฬิกาบอกเวลาโดยอาศัยการหลอมรวมอาณาจักรแห่งศิลปะ และวิทยาศาสตร์เข้าไว้ในพรมแดนเดียวกัน”
นิโคลาส์ บอส, ประธาน และหัวหน้าคณะกรรมการบริหารของ Van Cleef & Arpels
ไหวพริบอันเป็นเลิศในเชิงทักษะแขนงต่างๆ ทางการผลิตนาฬิกาข้อมือ
เพื่อให้การเคลื่อนไหวบนหน้าปัดมีความสมจริงตามวิถีธรรมชาติ องค์ประกอบจำนวนถึง 166 ชิ้นส่วนได้รับการติดตั้งระบบควบคุม และขับเคลื่อนโดยอาศัยหน่วยกลไกหลัก ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นจากทีมช่างฝีมือประจำแผนกห้องปฏิบัติการงานผลิตนาฬิกาข้อมือของเมซงในนครเจนีวา แต่ละกลีบของมวลดอกไม้ในสวนศรีบนหน้าปัด ล้วนได้รับการประกบลงวงกลีบ และเชื่อมต่อเข้ากับระบบกลไกของนาฬิกา อันจำเป็นต้องอาศัยความละเอียดอ่อน พิถีพิถันเป็นอย่างสูงระหว่างประกอบชิ้นส่วนทั้งหลาย โจทย์ท้าทายในเชิงเทคนิคงานประกอบชิ้นส่วนจำนวนมหาศาลเหล่านี้ ก้าวไปสู่ผลลัพธ์แห่งความครบถ้วน สมบูรณ์แบบด้วยการใช้กลไกขับเคลื่อนระบบคำนวณเวลาอันแม่นยำเพื่อมั่นใจได้ว่าดอกไม้จะดำเนินกระบวนการผลิกลีบแย้มบานสามลำดับ ซึ่งย่อมหมายความว่า แต่ละชั่วโมงที่ผ่านไป จะมีดอกไม้ซึ่งคลี่กลีบอยู่เริ่มทำการหุบกลีบเป็นกลุ่มช่อ ก่อภาพดอกตูมสลับดอกบานบนหน้าปัดในรูปแบบใหม่ๆ ไม่เหมือนกัน และในวันรุ่งขึ้น ลำดับของช่อดอกไม้ที่ผลิบานบอกเวลาก็จะสับเปลี่ยนเวียนกันไปจากชั่วโมงหนึ่งถึงอีกชั่วโมง สร้างความพิศวง และรื่นรมย์สายตายามตรวจดูเวลาซึ่งปรากฏขึ้นระหว่างกลุ่มดอกตูมกับกลุ่มดอกบาน
เพื่อเติมเต็มความครบครันในงานบอกเวลา ช่องระบุนาทีที่อาศัยระบบตีเข็มย้อนกลับ หรือเรโทเกรด (retrograde) นั้น ได้รับการติดตั้งไว้บนขอบข้างของกรอบตัวเรือน
กวีรจนาจากงานฝีมือ
นาฬิกาข้อมือ “ดงดอกไม้” Lady Arpels Heures Florales (เลดี อารเปลเซอรส์ฟลอราลส์) และ “ช่อดอกเชอร์รี” Lady Arpels Heures Florales Cerisier (เลดี อารเปลเซอรส์
ฟลอราลส์ เซอริซิเอร) ต่างสะกดทุกสายตาด้วยความวิจิตรตระการตาของสวนรัตนชาติภายในกรอบหน้าปัดขนาด 38 มม.ทำจากทองคำขาว และทองคำสีกุหลาบตามลำดับ ผลงานรุ่นทองคำขาวจำแลงบรรยากาศคิมหันตกาลผ่านลีลาอ่อนโยนของดอกไม้ใบไม้สีน้ำเงิน และสีเขียวหลากเฉดตัดกับพื้นสีขาวของแผ่นแม่มุกมาเธอร์-ออฟ-เพิร์ลอย่างละเมียดละไม ในขณะที่เครื่องบอกเวลาตัวเรือนทองคำสีกุหลาบลำดับสองนั้น อาศัยงานออกแบบเดียวกัน หากเต็มไปด้วยความอบอุ่น อ่อนหวานของบรรยากาศฤดูใบไม้ผลิ ปีกบอบบางสีฟ้าสดของผีเสื้อ อันถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางการออกแบบของ Van Cleef & Arpels ดูคล้ายกำลังขยับกระพืออยู่ระหว่างวงกลีบดอกสีชมพู และสีแดง อันร่วมกันทวีความโดดเด่นให้แก่รายละเอียดนูนต่ำบนหน้าปัดนาฬิกา
บนแต่ละหน้าปัดรองรับงานตกแต่งด้วยองค์ประกอบไม่น้อยกว่า 226 ชิ้นส่วน ซึ่งถือเป็นการระดมทักษะงานฝีมือต่างแขนงมาสู่แผนกปฏิบัติการงานผลิตนาฬิกาข้อมือ
ที่กรุงเจนีวาอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นงานจิตรกรรมย่อส่วนรูปผีเสื้อ และดอกไม้, กิ่งก้านประติมากรรมทองคำ และปุยเมฆประติมากรรมแม่มุก โดยอาศัยงานฝังเพชรขาวใสสลับเพชรเหลืองเคียงกันช่วยทวีความโดดเด่นทางรายละเอียดได้อย่างอ่อนช้อย ส่วนแผ่นประกบหลังกรอบตัวเรือนทำจากทองคำสลักลวดลายเพื่อมอบความต่อเนื่องจากงานตกแต่งบนหน้าปัด ขณะเดียวกับที่แผ่นจานเหวี่ยง อันเป็นฟันเฟืองสำคัญของกลไกขับเคลื่อนทำจากทองคำสลักลายตารางไขว้รัศมีตะวันซึ่งเรียกว่า guilloché (กวิโญเช) ร่วมกับงานจิตรกรรมย่อส่วนเผยความงามให้ประจักษ์ต่อสายตาอย่างชัดเจนภายใต้แผ่นแก้วไพลิน (sapphire glass) ใสกระจ่าง ซึ่งตกแต่งด้วยงานแกะสลัก และลงยาสีเคลือบเงาเป็นรูปแมลงปีกตัวน้อยอย่างแมลงปอ หรือผีเสื้อ
ความใส่ใจในทุกรายละเอียดทั้งหมดนี้ ทำให้ผลงานสร้างสรรค์ทั้งสองรุ่นเต็มไปด้วยความสละสลวย วิจิตรบรรจงดุจบทกวีบอกเวลาที่ผ่านการรจนาขึ้นตามจังหวะชีวิตของธรรมชาติในสวนศรีของ Van Cleef & Arpels
Lady Arpels Ballerines Enchantées
ถือกำเนิดในปี 2013 และชนะรางวัล Lady’s Complication Prize จากงาน Grand Prix de l’Horlogerie de Genève ซึ่งจัดขึ้นในปีเดียวกัน นาฬิกาข้อมือ “เสน่ห์นางระบำ” Lady Arpels Ballerine Enchantée (เลดี อารเปลส์ บาลเลอรี น็องชองตี) ได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางการสร้างสรรค์ผลงานนาฬิกาข้อมือประจำเมซง อีกทั้งยังเป็นบทสะท้อนถึงอีกแรงบันดาลใจสำคัญทางการออกแบบ นั่นก็คือศิลปะนาฏกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ “บัลเลต์” หรือ “ระบำปลายเท้า” สำหรับปีนี้ Van Cleef & Arpels ได้รังสรรค์สองผลงานใหม่อันเต็มไปด้วยความงามสง่า และทันสมัย หนึ่งนั้นเป็นตัวเรือนทองคำขาว ส่วนอีกหนึ่งคือตัวเรือนทองคำสีกุหลาบ ซึ่งล้วนรองรับหน้าปัดขึ้นรูปประติมากรรมจำลองทรวดทรงสะโอดสะองของเรือนร่างนางระบำในท่วงท่าอากัปอันมีทั้งความแคล่วคล่อง ปราดเปรียว และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง ในขณะที่ชั้นกระโปรงตูตู หรือกระโปรงบัลเลต์ ซึ่งบานฟูฟ่องให้ความรู้สึกถึงการสะบัดพลิ้วไปตามจังหวะเต้น เผยความงดงามจากการใช้วัสดุใหม่ สีสันใหม่ อีกครั้งที่การระดมทักษะงานฝีมือสาขาต่างๆ นำมาซึ่งความวิจิตรบรรจงทางงรูปทรงอันบ่งบอกถึงความเป็นผู้หญิงอย่างชัดเจน ในขณะเดียวกัน ก็จุดประกายภาพฝันราวกับกำลังทัศนานาฏลีลาที่อาศัยความลื่นไหลไหวพลิ้วในการเคลื่อนไหวอันอ่อนช้อย คล้ายล่องลอยไปตามลม
Lady Arpels Ballerine Enchantée watch (ซ้าย)
กรอบหน้าปัดนาฬิกาขนาด 40 มม. ทำจากทองคำขาวฝังเพชร พื้นหน้าปัดทองคำขาวประดับไพลิน และเพชรร่วมกับงานลงยาลายนูนหรือ “ชองเปลเว” (champlevé) และงานลงยาลายฉลุหรือ “ปลิกาฌูร” (plique-à-jour)
กลไกขับเคลื่อนระบบอัตโนมัติ (Valfleurier Q020) รองรับหน่วยบอกเวลาระบบตีเข็มย้อนกลับ (รีโทรเกรด) และบอกเวลาตามสั่ง สายนาฬิกาฝังเพชรเรียงแถวจิกไข่ปลา
Lady Arpels Ballerine Enchantée Rose Gold watch (ขวา)
กรอบหน้าปัดนาฬิกาขนาด 40 มม. ทำจากทองคำสีกุหลาบฝังเพชร พื้นหน้าปัดทองคำสีกุหลาบประดับเพชรร่วมกับงานลงยาลายนูนหรือ “ชองเปลเว” (champlevé) และงานลงยาลายฉลุหรือ “ปลิกาฌูร” (plique-à-jour) กลไกขับเคลื่อนระบบอัตโนมัติ (Valfleurier Q020) รองรับหน่วยบอกเวลาระบบตีเข็มย้อนกลับ (รีโทรเกรด) และบอกเวลาตามสั่งสายนาฬิกาหนังจระเข้สีม่วงเนื้อเงา
ความงามสง่าของเหล่านางระบำแห่ง Van Cleef & Arpels
นักเต้นบัลเลต์ ผู้หลอมรวมเรือนร่างสะโอดสะองอันบ่งบอกถึงความเป็นผู้หญิงเข้ากับทรวดทรงปีกผีเสื้อสุดตระการตาในสีสันอันสดใส เป็นผลงานสร้างสรรค์ซึ่งดำเนินตามครรลองงานออกแบบนางระบำปลายเท้าหรือที่เรียกทับศัพท์ว่า “บาลเลอรินา” และนางฟ้าอันเป็นที่รักยิ่งของเมซง ในระหว่างทศวรรษ 1940 เข็มกลัดประดับอันงามสง่าจากลูกเล่นทางการออกแบบเหล่านี้ร่วมกันสร้างชื่อให้แก่ Van Cleef & Arpels อย่างโดดเด่น แต่ละชิ้น แต่ละรุ่นล้วนจุดประกายปรารถนาให้ครอบครองขึ้นทันทีในใจของนักสะสมทั้งหลาย ภายใต้คำแนะนำของลูอิส อารเปลส์ ผู้พิสมัยศิลปะนาฏกรรม และเป็นขาประจำการแสดงระบำปลายเท้าหรือ “บัลเลต์” เมซงได้สรรค์สร้างเครื่องประดับรูปนางระบำปลายเท้าหรือบาลเลอรินาไว้หลายรุ่นโดยอาศัยแรงบันดาลใจจากบุคคลผู้มีชื่อเสียงแห่งตำนานบัลเลต์ ไม่ว่าจะเป็นลา คามารโก (ชื่อเต็มคือมารี-อานน์ เดอ คูพิส์ เดอ คามารโก) แห่งศตวรรษที่ 18 บาลเลอรินาสัญชาติฝรั่งเศสคนแรกซึ่งใช้ท่าเต้นกระโดดตีขาสี่จังหวะอย่างที่เรียกว่า “อ็องเตรชาต์ คาตร” (entrechat quatre) อีกทั้งยังนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาสู่วงการนักเต้นอาทิเช่นการสวมรองเท้าผ้าพื้นเรียบแทนรองเท้ามีส้น หรืออีกบุคคลก็คืออานนา พาฟโลวา นักเต้นหญิงดาวเด่นตัวชูโรงของคณะระบำปลายเท้ารัสเซีย รูปร่างเพรียวบาง สะโอดสะองของพวกเธอถูกถ่ายทอดมาสู่การวางท่วงท่าอากัปอันหลากหลายในเครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับศีรษะซึ่งตกแต่งด้วยรัตนชาติล้ำค่าโดยมีเพชรเดี่ยวต่างดวงหน้าของพวกเธอ
ความผูกพันแน่นแฟ้นระหว่าง Van Cleef & Arpels กับศิลปะนาฏกรรมดำเนินสืบทอดอย่างต่อเนื่องนับจากการพบปะเผชิญหน้าครั้งสำคัญ อันถือเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของเมซง นั่นก็คือครั้งที่โคลด อารเปลส์ย้ายไปประจำสาขา ณ มหานครนิวยอร์กได้ทำความรู้จักกับจอร์จ บาลางชีน นักออกแบบท่าเต้นผู้โด่งดัง และทำการเชิญฝ่ายนั้นให้มาเยือนบูติกของตนบนถนนสายห้า ความรัก และความหลงใหลที่ทั้งสองต่างมีให้กับรัตนชาตินำไปสู่การร่วมงานเชิงศิลป์อย่างรวดเร็ว ด้วยแรงบันดาลใจจากมรกต, ทับทิม และเพชร บาลางชีนอำนวยการสร้าง Jewels ขึ้นเป็นการแสดงระบำปลายเท้าสามองก์โดยตั้งชื่อแต่ละองก์ตามอัญมณีทั้งสาม ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นแนวความคิด และเปิดการแสดงครั้งแรกในนิวยอร์กเมื่อเดือนเมษายนปี 1967 ในครั้งนั้น บาลางชีนได้กล่าวถึงการแสดงครั้งนี้ว่า “นี่เป็นบัลเลต์แนวแอ็บสแตร์ก ซึ่งเนื้อหาไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับอัญมณีเลยเว้นเสียแต่นักเต้นในแต่ละองค์สวมเครื่องแต่งกายสีเดียวกับอัญมณีที่เป็นชื่อขององก์นั้นๆ”
โลกของนาฏศิลป์ หรือศิลปะการเต้น ส่งอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ของเมซงอย่างต่อเนื่อง อย่างในปี 2013 นาฬิกาข้อมือ “เสน่ห์นางระบำ” Lady Arpels Ballerine Enchantée ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบจากคำพูดของอานนา พาฟโลวาที่ว่า “ฉันเคยฝันในตอนเป็นเด็กว่าจะโตขึ้นเป็นนักบัลเลต์ และใช้ทั้งชีวิตไปกับลีลาการเต้นที่พลิ้วไหวเสมือนผีเสื้อโบยบิน...” ผลงานครั้งนั้นยังแสดงให้เห็นถึงมรดกต่างๆ ทางการสร้างสรรค์ของ Van Cleef & Arpels โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำกลไกบอกเวลาระบบคู่เข็มตีย้อนกลับจากนาฬิกาพก “นักมายากลจีน” (Chinese Magician pocket watch) เมื่อปี 1927 มาปรับประยุกต์เป็นแขนทั้งสองข้างสำหรับใช้ขยับยกบอกเวลา ความแยบยลในการใช้ระบบเข็มตีย้อนกลับบอกเวลาลักษณะนี้ ได้กลายเป็นคุณลักษณ์เด่นเฉพาะตัวประการหนึ่งในปัจจุบันของคอลเลคชันนาฬิกาข้อมือ Poetic Complications
แสงสว่างกับความลึกเชิงมิติ
สำหรับผลงานรุ่นใหม่ ลำตัวของนางระบำปลายเท้าหรือ “บาลเลอรินา” เป็นประติมากรรมนูนต่ำทำจากทองคำโดยใช้เพชรในการตกแต่งเน้นรายละเอียดให้แก่เครื่องประดับศีรษะ, วงหน้า, ทรวงอก และเอวโดยที่สองแขนผายออกมาด้วยท่วงท่าสง่างามอยู่เหนือทรงบานกว้างของกระโปรงตูตูเนื้อสีโปร่งแสง สำหรับนาฬิกาข้อมือ Lady Arpels Ballerine Enchantée นั้น เครื่องแต่งกายของนักเต้นหญิงสะบัดพลิ้วเป็นวงด้วยงานลงยาลายนูน “ชองเปลเว” (champlevé) ร่วมกับงานฝังไพลิน และเพชร ขณะเดียวกับที่แผ่นโมทิฟกระโปรงลงยาลายฉลุ “ปลิกาฌูร” (plique-à-jour) อย่างอ่อนช้อยของรุ่น Lady Arpels Ballerine Enchantée Rose Gold สามารถขยับหมุน ยกตัวขึ้นราวกับปีกผีเสื้อโปร่งแสงเพื่อทำหน้าที่ชี้ตัวเลขบอกเวลาได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ
บาลเลอรินาบนตัวเรือนทั้งสอง ต่างโดดเด่นอยู่บนฉากหลัง ซึ่งอาศัยงานสลักลายลำแสงรัศมีตะวันหรือ “กวิโญเช” (guilloché) ก่อมิติเสริมความรู้สึกของการเคลื่อนไหวไปตามอากัปการเต้น นอกจากนั้น งานเรียงซ้อนแผ่นลงยาสีโปร่งแสงเฉดม่วง หรือชมพู ซึ่งถูกปูทับลงไปอีกทีละชั้นๆ ยังช่วยทวีระดับความลึก และประกายสุกใสให้แก่งานประกอบชิ้นส่วนขึ้นรูปประติมากรรมบนหน้าปัดของแต่ละรุ่น
กลไกขับเคลื่อนระบบคู่เข็มตีย้อนกลับ, บอกเวลาตามสั่ง
อีกครั้งที่เมซงถ่ายทอดสุนทรียศิลป์ในการบอกเวลาด้วยลูกเล่นสุดวิจิตรบรรจงผ่านลีลาอันอ่อนช้อยราวกับความสละสลวยทางฉันทลักษณ์ของบทกวีด้วยกลไกขับเคลื่อนระบบคู่เข็มตีย้อนกลับบอกเวลาตามสั่ง บนนาฬิกาข้อมือ ซึ่งใช้กลไกบอกเวลาระบบตีเข็มย้อนกลับ หรือ “เรโทรเกรด” (retrograde) นั้น ปลายมือบนแขนทั้งสองซึ่งต่างเคลื่อนตัวในระยะครึ่งวงกลมก่อนจะตีย้อนกลับไปสู่ตำแหน่งเริ่มต้นเพื่อเตรียมพร้อมทำหน้าที่บอกเวลาตามวงจรใหม่อีกครั้ง
ณ จุดนี้ เมื่อผู้ใช้งานกดปุ่มสั่งการตรงตำแหน่ง 8 นาฬิกา กระโปรงตูตูของนางระบำพลันขยับเขยื้อนดุจมีชีวิต เริ่มจากแผ่นโมทิฟลงยาเดินลวดลายเป็นกระโปรงสุ่มซับในฟูฟ่อง จะยกตัวขึ้นบอกชั่วโมงเป็นอันดับแรก ตามด้วยโมทิฟแผ่นกระโปรงของอีกข้าง ซึ่งจะเคลื่อนตัวหมุนตามระบบควบคุมเพื่อแสดงตัวเลขบอกนาที และต่างค้างอยู่ตามตำแหน่งนั้นประมาณสองสามวินาที อำนวยต่อการดูเวลาก่อนจะลดตัวลงกลับไปยังจุดเริ่มต้นของตนพร้อมกัน การเคลื่อนไหวอย่างลื่นไหลเช่นนั้น เป็นหนึ่งในความสำเร็จเชิงเทคนิคงานประกอบชิ้นส่วนหน่วยกลไกบอกเวลา ซึ่งอาศัยความซับซ้อนของระบบควบคุมการทำงาน (complication module): ปีกกระโปรงของบาลเลอรินาเคลื่อนที่อย่างแช่มช้า และสง่างาม
Extraordinary Dials
ผลงานการออกแบบใหม่ มีจำนวนจำกัดทั้งสองรุ่นนี้ ต่างโดดเด่นเป็นหนึ่งด้วยงานศิลปะย่อส่วนผสม
ผสานทักษะงานฝีมือหลากแขนงเข้าด้วยกันไว้บนหน้าปัดเดียวเพื่อประกาศเกียรติภูมิ และความหมายของ Extraordinary Dials collection อันหมายถึงคอลเลคชันนาฬิกาข้อมือเจ้าของหน้าปัดหัตถศิลป์ ซึ่งเต็มไปด้วยความพิเศษเหนือสามัญ และยากจะพบเห็นได้โดยทั่วไป สำหรับปีนี้ ช่างศิลป์ต่างสาขาทั้งช่างแกะสลัก, ช่างเจียระไนอัญมณี, ช่างฝังรัตนชาติขึ้นตัวเรือน และจิตรกรลงยา ถูกระดมมาร่วมกันถ่ายทอดความสามารถผ่านบทกวีแห่งความรัก ขับขานถึงการอยู่คู่กันของสัตว์โลก
ภายในกรอบหน้าปัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 33 มม. งานประติมากรรมนูนต่ำขึ้นลายเป็นภาพอันงดงาม เต็มไปด้วยมิติจำลองทัศนียภาพของดินแดนอันไกลโพ้น ถูกนำมาใช้เพื่อทวีความโดดเด่นให้แก่ “สัตว์คู่รัก” หนึ่งในแนวทางการออกแบบอันเป็นที่นิยมชมชอบของเมซงมาแต่ยาวนาน สัตว์ทั้งคู่ดูเหมือนจะคลอเคลีย และท่วงท่าการส่งสายตาแก่กันอย่างชัดเจน
Lady Duo
นาฬิกาข้อมือ “กระต่ายคู่รัก” Lady Duo de Lapins (เลดี ดูโอ เดอ ลาแป็งส์) เป็นผลงานรุ่นใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความภาคภูมิในทักษะความสามารถเชิงหัตถศิลป์อันทรงเอกลักษณ์ และเป็นแบบเฉพาะของ Van Cleef & Arpels งานประติมากรรมนูนต่ำบนแผ่นแม่มุกขึ้นรูปคู่กระต่ายได้งดงามเสมือนจริง ทั้งสองต่างสบตาแสดงความรักแก่กันอย่างอ่อนโยนดุจมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสวนศรีอันงดงามด้วยงานลงยาลายฉลุ “ปลิกาฌูร” (plique-à-jour) ร่วมกับประกายเจิดจรัสสดใสของร่องผักสีชอุ่มตาที่ร้อยเรียงจากมรกต และโกเมนเขียวส่องซาโวไรท์สลับไพลินชมพู ไกลออกไป ณ เบื้องบนคือดวงตะวันทองคำสีกุหลาบขัดผิวขึ้นเงาราวกระจกสาดลำแสงเป็นวงรัศมีโดยอาศัยงานสลักลายเส้นเปลวตะวัน “กวิโญเช” (guilloché) ในขณะที่ปุยเมฆพลอยน้ำสมุทรลาพิซลาซูลิช่วยเติมเต็มมิติความลึกให้แก่ภูมิทัศน์พื้นหน้าปัด ส่วนด้านหลังกรอบตัวเรือนคืองานแกะสลักลายเส้นถ่ายทอดความอ่อนหวานงดงามจากด้านหน้ามาอย่างต่อเนื่อง
Lady Duo de Lions watch
กรอบตัวเรือนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 33 มม. ทำจากทองคำขาวฝังเพชร
หน้าปัดทองคำขาวตกแต่งด้วยทองคำสีกุหลาบ และทองคำเฉดเหลืองรองรับงานประดับไพลินสีชมพู, เพชร, หินไข่นกการเวก (เทอร์คอยซ์),
นิลกาฬ (ออนิกซ์) และแผ่นแม่มุกมาเธอร์-ออฟ-เพิร์ลสีขาว
กลไกขับเคลื่อนบอกเวลาระบบขึ้นลานด้วยมือ (Valfleurier Q474)
สายคาดทำจากหนังจระเข้สีม่วงไลแล็กเนื้อเงา
Lady Duo de Lapins watch
กรอบตัวเรือนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 33 มม. ทำจากทองคำขาวฝังเพชร
หน้าปัดทองคำสีกุหลาบตกแต่งด้วยทองคำขาวรองรับงานประดับไพลินสีชมพู, มรกต, โกเมนเขียวส่องซาโวไรท์, พลอยสมุทรลาพิซ ลาซูลิ, แผ่นแม่มุกมาเธอร์-ออฟ-เพิร์ลสีขาว, งานลงยาลายฉลุ “ปลิกาฌูร”, งานจิตรกรรมย่อส่วน, งานลงยาสีเคลือบเงา
กลไกขับเคลื่อนบอกเวลาระบบขึ้นลานด้วยมือ (Valfleurier Q474)
สายคาดทำจากหนังจระเข้สีเขียวเนื้อเงา