ฟิลิปส์ เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมแนะวิธีดูแลสุขภาพให้พร้อมรับมือฝุ่นและไวรัสในอากาศ

เข้าสู่ฤดูหนาว อากาศเย็นๆ แบบนี้คงเป็นที่ถูกใจใครหลายๆคน แต่ก็เป็นช่วงฤดูที่ฝุ่น PM2.5 กลับมา พร้อมๆกับไวรัสที่สามารถแพร่กระจายได้ทางอากาศ ฟิลิปส์ ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ มีความห่วงใยต่อประชาชนคนไทย จึงได้เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจมาร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพให้สามารถรับมือกับ “ฤดูฝุ่น” และ “ไวรัสที่สามารถแพร่กระจายในอากาศ” โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีเด็กเล็กและผู้สูงอายุที่ยิ่งต้องให้ความใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ

1.jpg

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงรวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลพระรามเก้า และเจ้าของเพจคุยกับหมอภูมิแพ้เด็ก by Dr.Mai กล่าวว่า “โดยปกติช่วงฤดูฝนจนเข้าสู่ฤดูหนาว เราจะพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุมาจากทั้งสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความชื้นในอากาศที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสและฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เพิ่มมากขึ้น แต่ในปีนี้ จากที่มีการรณรงค์ให้ประชาชนมีการใส่หน้ากากและการดูแลความสะอาดมากขึ้น ล้างมือบ่อยขึ้น ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ลดลงกว่าปีก่อนๆ เมื่อเทียบสถิติกับปี 2562 ที่พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ถึง 396,000 ราย แต่ปี 2563 นี้มีรายงานพบผู้ป่วยทั่วประเทศเพียง 116,052 รายจากทั่วประเทศ[1] อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าห่วงคือ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงของโรคได้ ถึงแม้ว่าจะอยู่แต่ในบ้านก็ตาม เพราะผู้ใหญ่ที่ต้องออกไปทำงานข้างนอกอาจนำเชื้อเข้ามาในบ้านได้ ผ่านทางเสื้อผ้า สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆได้”

ไวรัสที่แพร่กระจายทางอากาศ มีอยู่หลายชนิด ที่เราคุ้นเคยกันดี คือ กลุ่มไวรัสและแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ไรโนไวรัส (Rhinovirus), อะดิโนไวรัส (Adenovirus), โคโรนาไวรัส (Coronavirus), อินฟลูเอนซา (Influenza) หรืออาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus) ส่วนกลุ่มแบคทีเรีย ได้แก่ สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus), ไมโครพลาสมา (Mycoplasma) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเชื้อไวรัสในกลุ่ม MERS-CoV และ SARS-CoV ที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง

02_รศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน.JPG

“โรคทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสส่วนมาก จะไม่มียารักษาโดยตรง แพทย์ต้องทำการรักษาตามอาการ เช่น หากมีไข้ก็ให้ยาลดไข้ หากมีอาการน้ำมูลไหล ไอ จาม ก็ให้ยาลดน้ำมูก แก้ไอ เท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีเด็กเล็กและผู้สูงอายุ อย่างในช่วงนี้จะเห็นว่ามีการแพร่พระบาดของไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง สามารถเกิดการติดเชื้อได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ในผู้ใหญ่อาจจะไม่แสดงอาการเด่นชัดหรือรุนแรงเท่าในกลุ่มเด็กเล็ก การติดต่อผ่านสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย ไอ จาม และการสัมผัส ซึ่งหากเด็กได้รับเชื้อในช่วง 2 – 4 วันแรกมักมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่เมื่อการดำเนินโรคมีมากขึ้น จะส่งผลให้ทางเดินหายใจส่วนล่างมีการอักเสบ ทำให้เกิดอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ไอแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงครืดคราด มีเสมหะในลำคอ ดังนั้น คำแนะนำจากแพทย์ คือ ไม่ว่าจะป้องกันไวรัสชนิดไหนควรทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งที่กลับจากนอกบ้าน ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ต้องทำความสะอาดร่างกายหรือล้างมือก่อนสัมผัสเด็ก หลีกเลี่ยงให้ผู้อื่นสัมผัสใกล้ชิดหรือกอดหอมเด็กนอกบ้าน และควรฝึกให้ลูกใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือเป็นประจำเมื่อเวลาออกนอกบ้าน หมั่นทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ที่มาจากนอกบ้าน ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หากสงสัยว่ามีไข้ เป็นหวัดที่มีอาการรุนแรงให้รีบพบแพทย์ทันที” รศ.พญ.รวีรัตน์ อธิบายเพิ่มเติม 

Infographic Philips Air Purifier_FINAL (1).jpg

“สำหรับโรคทางเดินหายใจอีกชนิด คือ โรคภูมิแพ้ ซึ่งมักพบอัตราการกำเริบและยอดผู้ป่วยสูงขึ้นในช่วงที่อากาศเย็นและมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อากาศหรือโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) สูงกว่า 20% ในกลุ่มประชากร สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ มักจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม ซึ่งจะเป็นๆหายๆติดต่อกันนานมากกว่า 4 สัปดาห์ จะแตกต่างจากไข้หวัดชนิดอื่นๆ ถึงแม้ว่าโรคภูมิแพ้จะเป็นโรคเรื้อรังแต่ก็มีโอกาสหายขาดได้ ดังนั้น แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ควรปล่อยไว้จนโพรงจมูกได้รับความเสียหายเป็นเวลานาน
ส่วนวิธีการดูแลสุขภาพเพื่อลดความรุนแรงของโรคนี้ สามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมตัวเองด้วย
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียด และหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ก็จะช่วยให้อาการของโรคเกิดน้อยลงได้ หากมีอาการกำเริบมากควรมาพบแพทย์” รศ.พญ.รวีรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย

สิริวรรณ นิจกิจจาทร ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจ Personal Health บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย)

ด้านนางสาวสิริวรรณ นิจกิจจาทร ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจ Personal Health บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ฟิลิปส์ ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ เราตระหนักถึงความสำคัญในการนำเสนอนวัตกรรมที่เข้าไปช่วยดูแลคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้ผู้บริโภค และในครั้งนี้ เราได้นำเสนอเครื่องฟอกอากาศ Philips Air Purifier 4000i series และ Philips Air Purifier 2000i ทั้ง 2 รุ่นใหม่ล่าสุด มาพร้อมจุดเด่นที่ระบบกรองอากาศอัตโนมัติแบบอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีแผ่นกรอง NanoProtect HEPA ซึ่งช่วยกรองอนุภาคได้เล็กถึง 0.003 ไมครอน ซึ่งเป็นอนุภาคที่เล็กกว่าระดับไวรัสและPM 2.5 หรือละเอียดกว่ามาตราฐาน HEPA ถึง 100 เท่า เครื่องฟอกอากาศ Philips Air Purifier จึงได้รับการยืนยันว่าสามารถดักจับไวรัส H1N1 ที่แพร่กระจายในอากาศได้ และผ่านการทดสอบกับโคโรนาไวรัสแล้ว[2] พร้อมป้องกันสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้าน อาทิ ได้แก่ ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ เชื้อราภายในบ้าน ควันบุหรี่ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยเครื่องฟอกอากาศ Philips Air Purifier รุ่นใหม่ทั้ง 2 รุ่น ยังสามารถเชื่อมต่อผ่านแอพพลิเคชั่น Philips Clean Home+ เพื่อให้คุณสามารถตรวจสอบและควบคุมอากาศภายในบ้านด้วยสมาร์ทโฟนได้ทุกที่ทุกเวลา จึงมั่นใจได้ว่าอากาศในบ้านคุณจะสะอาดบริสุทธิ์เพื่อทุกคนในครอบครัว”

Philips-Air-Purifier_Intelligent-auto-purification.jpg
Philips Air Purifier 2000i_รุ่น AC2958.jpg
Infographic Philips Air Purifier_FINAL (2).jpg

Philips Air Purifier 4000i series และ Philips Air Purifier 2000i วางจำหน่ายแล้วที่ร้านค้าและห้างสรรพสินค้าชั้นนำ หรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ Philips Official Shop website, Central Online, Robinson Online, HomePro Online, Powerbuy Online, Lazada, Shopee

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดผลิตภัณฑ์ได้ที่เว็บไซต์ www.philips.co.th หรือเฟซบุ๊กเพจ www.facebook.com/philipsthailand หรือติดต่อศูนย์ข้อมูลผู้บริโภคฟิลิปส์ โทร 02-614-3340


[1] รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 10 พฤศจิกายน 2563 จากรายงาน กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ฉบับวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563

[2] Microbial Reduction Rate Test at external lab, appliance run at turbo mode for 2h in a 30m3 test chamber contaminated with avian coronavirus (IBV) aerosols, Guangdong Detection Center of Microbiology, November 2020. pg. 1

Previous
Previous

“ป๋อ-ณัฐวุฒิ สกิดใจ” ทุ่มสุดตัว เปิดตัวธุรกิจ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “SKJ PRO”

Next
Next

ดีเอ็น คอลลาเจน เครื่องดื่ม นิวคลีลิกแอซิด ช่วยสู้ โควิด-19