กินไขมันลดอ้วน...คีโต-ไดเอท

#Ketodiet

#Ketodiet

สายไดเอทน่าจะเคยได้ยินกันมาบ้างเรื่องของการลดน้ำหนักที่เรียกว่า Ketogenic Diet หรือเรียกง่ายๆว่า Keto-diet (คีโตไดเอท) ซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1920 เพื่อรักษาโรคลมชัก ต่อมาในปี 1960 เป็นต้นมาถูกนำมาใช้รักษาโรคอ้วน...

หลักของ คีโตไดเอท

การเปลี่ยนแหล่งพลังงานหลักจากคาร์โบไฮเดรต (เรียกสั้นๆ ว่า คาร์บ) มาใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานแล้วดึงไขมันที่สะสมในร่างกายออกมาใช้ เราจึงต้องเปลี่ยนกลไกการทำงานของร่างกายโดยลดปริมาณการกินคาร์บลง งดการกินน้ำตาล...โดยเด็ดขาด!!!

puffxme_Health2-2.jpg

1 สัดส่วนการกิน

สัดส่วนการกินอาหาร กินไขมัน 75% โปรตีน 20% แล้วกดคาร์บให้ต่ำกว่า 5% ตามแคลลอรี่ที่ร่างกายต้องการต่อวัน

puffxme_Health2-4.jpg

2 ไขมันอะไรดี

ทำความเข้าใจโครงสร้างของน้ำมันและไขมันแต่ละประเภทอะไรทานได้บ้าง

puffxme_Health2-1.jpg

3 เฉพาะบุคคล

อยากลดน้ำหนักก็ต้องกินให้มากกว่า BMR(Basel Metabolic Rate) พลังงานน้อยที่สุดที่ร่างกายต้องการในการดำรงชีวิตน้อยกว่า TDEE (Total DailyEnergy expenditure)หรือพลังงานที่ร่างกายใช้ในการทำกิจกรรม

กินน้ำมันดีเพื่อเร่งให้ร่างกาย เข้าสู่...ภาวะคีโตน โดย 3 สิ่งที่ชาวคีโตหน้าใหม่ต้องทำ คือ

1. คำนวนพลังงานที่ตัวเราต้องใช้ในแต่ละวันให้แม่นยำ

2. บันทึกและวางแผนทุกอย่างที่กินล่วงหน้า!

3. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนอดทนแล้วจะประสบความสำเร็จ

คนที่ลดความอ้วนด้วยวิธีการนี้มีจริง ประสบความสำเร็จบ้าง ไม่ประสบความสำเร็จบ้าง ดังนั้นหากคุณคิดจะลดน้ำหนักด้วยวิธีการนี้ ผู้เขียนอยากให้คุณศึกษาให้ดีก่อนว่าผลดีและผลกระทบต่อร่างกายของเรามีอะไรบ้าง อย่าผลีผลาม ขอเน้นอีกทีว่า ต้องศึกษาให้ละเอียดก่อนลงมือทำ

“จงให้ความสำคัญกับขนาดไซส์ที่หายไป สุขภาพที่แข็งแรงมากกว่า น้ำหนักที่ลดลงเพียงอย่างเดียว”

คำเตือน

การอยู่ในภาวะคีโตซิส นานเกินไปจะทำให้เกิดการยกระดับไปเป็น Ketoacidosis และการสลายไขมันจากขบวนการ Beta-oxidation ไม่สามารถสร้างกลูโคสจากขบวนการ Gluconeogensisได้ ซึ่งการสลายไขมันแน่นอนได้พลังงานมากมาย แต่การสลายนี้เซลล์ต้องมี Mitochondria ถึงจะทำได้ แต่ RBC ต้องการกลูโคสไปใช้และสลายพลังงานโดยวิถี Glycolysis เท่านั้น การไม่กินน้ำตาลหรือ Carbohydrate เลย ต้องระวัง RBC ขาดพลังงาน และ ketone body จะรบกวนการทำงานของสมอง ร่างกายจะไม่แข็งแรงเลย (ขอขอบคุณคำแนะนำ จากคุณ Sonthaya Umsumarng)

puffxme_Health2-5.jpg

4 อะไรกินได้บ้าง

เมื่อการกินเราเปลี่ยนประเภทของอาหารก็ต้องเปลี่ยนใหม่ อย่างผลไม้ก็ไม่ใช่จะทานได้หมด ดังนั้นอะไรกินได้ กินไม่ได้ต้องจำให้ขึ้นใจจะได้ไม่หลุดคีโต

puffxme_Health2-3.jpg

5 เสริมสารอาหาร

ต้องรู้ว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะเป็นตัวช่วยในการเติมสารอาหารที่ลดหายไป

puffxme_Health2-6.jpg

6 มือใหม่อ่านก่อน

ผู้เขียนขอแนะนำให้ทุกท่านที่คิดจะเริ่มต้นที่จะลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้ต้องศึกษาให้ดี เพราะมีทั้งผลดีและผลเสีย

ผู้เขียนแนะนำหนังสือให้คุณอ่านก่อนตัดสินใจ หนังสือ Ketogenic Diet เขียนโดย คุณไอซ์ - ภ.ญ.อิชยา อยู่เกษ ‘กูรูคีโตเมืองไทย’ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่: https://www.facebook.com/ThaiKetoPal https://www.facebook.com/groups/ThaiKetoFriends https://www.thaiketopal.com

Previous
Previous

ปวดฟันกลางดึก...สมุนไพรในบ้านช่วยบรรเทาได้

Next
Next

โซดาซ่า...ดี?