เปิดโลก HPE dHCI เจนฯ ใหม่ของการจัดการข้อมูลยุคคลาวด์-เนทีฟ

ตลอดเส้นทางการจัดการดาต้าเซ็นเตอร์จนมาถึงยุคคลาวด์ในปัจจุบัน ลูกค้าต้องเผชิญกับเทคโนโลยีที่ต่างจากเดิม เช่น การพัฒนาบริการธุรกิจรูปแบบใหม่ นวัตกรรมอย่าง DevOps คอนเทนเนอร์ ไมโครเซอร์วิส ภัยคุกคามไซเบอร์ที่รับมือยากกว่าเดิมซึ่งต้องการระบบสำรองและกู้คืนข้อมูลที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น

ขณะที่ประสบการณ์การใช้งานผ่านคลาวด์ หรือ On-Prem ก็ต้องการอินฟราสตรัคเจอร์ในการจัดการทุกข้อมูลแบบองค์รวมรวมไว้ในแพลตฟอร์มเดียว (Unified Data Operation) เพื่อให้การบริการข้อมูลทั้งเก่าและใหม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงมีเอไอและบิซิเนส อินเทลลิเจนซ์ มาช่วยในการวิเคราะห์ ทำนายผล และจัดการการใช้งานข้อมูลบน ระบบที่เป็นอัตโนมัติ มากขึ้น

ประสบการณ์อีกขั้นกับ dHCI

Hyperconverged Infrastructure (HCI) ไม่ใช่ของใหม่ แต่ถูกออกแบบมานานแล้วเพื่อควบรวมการกำกับการทำงานของส่วนประมวลผล สตอเรจ เน็ตเวิร์ค รวมถึงเวอร์ช่วลแมชชีนไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ซึ่งตอบโจทย์ทั้งความง่ายในการจัดการและการลงทุนที่เริ่มต้นจากเล็กและขยายไปหาใหญ่ในอนาคต ทว่า หลักที่ถูกต้องของ HCI คือ เมื่อองค์กรต้องการขยายจำนวนโหนดใหม่ (node) เพื่อรองรับงานที่เพิ่มขึ้น ก็ควรจะมีการใช้ทรัพยากรให้ใกล้เคียงกับโหนดเดิมมากที่สุด แต่ในทางปฏิบัตินั้นยากเพราะความต่างรุ่นต่างยุคของเทคโนโลยีทั้ง ซีพียู หน่วยความจำ เน็ตเวิร์ค ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เป็นต้น  คำถามคือ เราจะผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ลงไปในคลัสเตอร์ซึ่งมีทรัพยากรแบบเดิม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเสมือนทำงานบนทรัพยากรเดียวกัน โดยไม่เกิดการทำงานที่ล่าช้า (Delay Time) หรือต้องหยุดระบบชั่วคราว (Timeout) ได้อย่างไร?

Disaggregated Hyperconverged Infrastructure (dHCI) นิยามใหม่จากไอดีซี ที่เข้ามาช่วยเรื่องการจัดการที่ง่ายและพิเศษกว่า HCI แบบเดิมตรงที่ให้ ความยืดหยุ่นในการปรับขยายทรัพยากรของส่วนประมวลผลและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้อย่างอิสระ โดยให้ประสิทธิภาพการทำงานได้ในระดับ

เอ็นเตอร์ไพรส์ ทั้งยังเปิดกว้างให้ทำงานร่วมกับเซิร์ฟเวอร์เอชพีอีรุ่นก่อนหน้านี้ เช่น ProLiant Gen8 หรือ ProLiant Gen9 ซึ่งช่วยลูกค้าประหยัดการลงทุนแทนการยกเครื่องทั้งระบบให้เป็น dHCI

ครบเครื่อง dHCI ด้วย HPE ALLETRA 6000 Storage

HPE ALLETRA 6000 หรือเดิม HPE Nimble สตอเรจภายใต้แนวคิด dHCI ซึ่งเติมเต็มการจัดการอินฟราสตรัคเจอร์ของข้อมูลบนคลาวด์-เนทีฟในแบบ As-a-Service เมื่อทำงานร่วมกับ HPE GreenLake Platform โดย HPE ALLETRA 6000 เน้นการรองรับกิจกรรมสำคัญทางธุรกิจ (Business Critical Workload) มีความเก่งในการทำงานร่วมกับแอปพลิเคชันใหม่ ๆ เช่น คอนเทนเนอร์ และขจัดปัญหาการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน (Data Deduplication) โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการให้บริการ (High Performance)

โดย 3 หัวใจสำคัญสตอเรจ HPE ALLETRA 6000 เน้นตอบโจทย์องค์กรธุรกิจในการ...

1. สนับสนุนความเป็นอัตโนมัติในการขับเคลื่อนนโยบายและการรวมศูนย์ข้อมูล (Data-Centric & Policies Automation) ที่ทำงานได้ทั้งบนสภาพแวดล้อมเดิม เช่น เวอร์ช่วลไลเซชัน ดาต้าเบส อีอาร์พี ไปจนถึงแอปพลิเคชันบนคลาวด์-เนทีฟ อาทิ คอนเทนเนอร์ NON SQL แมชชีนเลิร์นนิ่ง

2. เพิ่มประสบการณ์ในการใช้งานคลาวด์ที่ดี (Cloud-Native) ที่รองรับทั้งเอดจ์ ระบบหลัก (Core) ในดาต้าเซ็นเตอร์ของลูกค้าแบบ On-prem และบนคลาวด์ โดยทำการสำรองข้อมูลได้สะดวกจากทุกที่

3. เติมเต็มประสิทธิภาพด้วย AI (AI-Driven) มาช่วยบริหารจัดการอินฟราสตรัคเจอร์ที่มีความซับซ้อนให้มีความมั่นคงปลอดภัย เพิ่มการตัดสินใจที่ถูกต้องและแม่นยำ ตลอดจนชูความสามารถของเทคโนโลยี (S.P.R.E.A.D)  ซึ่งออกแบบมาให้โดดเด่นและเข้ากันได้กับทุกภาระงาน (Workload)

ถอดรหัส S.P.R.E.A.D กับการจัดการข้อมูลที่ดีกว่า

  • Scale เน้นการปรับขยายที่ง่ายและไร้ข้อจำกัดด้วย HCI 2.0 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวที่ใช้ได้กับทุกการทำงาน อาทิ เวอร์ช่วลแมชชีน แอปพลิเคชันสมัยใหม่ (Modern App) เช่น คอนเทนเนอร์ คูเบอร์เนเตส ไมโครเซฮร์วิส หรือเซิร์ฟเวอร์รุ่นเก่าในลักษณะ Physical Host (ประกอบด้วยส่วนประมวลผล สตอเรจ และเน็ตเวิร์ค) ให้สามารถทำงานภายใต้ dHCI ชุดเดียวกัน แม้กระทั่งการแชร์ทรัพยากรของ dHCI ร่วมกับไฮเปอร์-วี, ออราเคิลดาต้าเบส, SAP HANA หรือเวอร์ช่วลเดสก์ท็อปก็ทำได้

  • Simple เน้นการบริหารจัดการที่ง่ายจากจุดเดียว (Single Management UI) สำหรับผู้ใช้งานวีเอ็มแวร์ (VMWare)

  • Performance ระบบ dHCI ถูกออกแบบให้มีความแตกต่างจาก ระบบ HCI ดั่งเดิม เพิ่มความสามารถในการรองรับ ปริมาณ Workload ขนาดใหญ่ รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ลดทอนประสิทธิภาพการทำงาน (Guarantee Performance) สามารถทำงานร่วมกับ Unified API เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบริการต่าง ๆ ผ่าน DevOps ได้เป็นเอกภาพบนมาตรฐานเดียวกัน เพื่อการส่งต่อการทำงานที่ราบรื่นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

  • Reliability ความน่าเชื่อถือด้านการให้บริการระดับ Enterprise สูงสุด 99.9999% (การันตี Uptime 99.9999%) โดยหยุดการให้บริการไม่เกิน 32 วินาทีต่อปี (Downtime <32 วินาที/ปี)

  • Effective Capacity ประสิทธิภาพในการบีบอัดและลดทอนความซ้ำซ้อนของข้อมูล เพื่อการันตีพื้นที่การใช้งานสตอเรจได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด

AI เพิ่มการชี้แนะภาระงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยแมชชีนเลิร์นนิ่ง พร้อมแจงถึงต้นตอของปัญหา (Root Cause) ช่วยให้องค์กรสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ครบถ้วนทั้งในส่วนประมวลผล สตอเรจ ลงลึกถึงระดับเวอร์ช่วลแมชชีน ซึ่งรวมถึงเรื่องของเอสคิวแอล (SQL) ต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ ยังเพิ่มมุมมองการวิเคราะห์ข้อมูลชนิดเต็มรูปแบบร่วมกับเอไอ (Full Stack Analytics and Al-Ops) โดยใช้ฐานความรู้ (knowledge base) ที่สะสม IOT Sensor จากผลิตภัณฑ์ทั่วโลก ร่วมกับบิสซิเนสอินเทลลิเจ้นซ์ (Business Intelligence) มาเสริมรูปแบบการวิเคราะห์ให้แม่นยำยิ่งขึ้น

Data Protection ที่ฝังมากับตัวสตอเรจให้พร้อมป้องกับภัยคุกคามจากแรนซั่มแวร์ต่าง ๆ (Built in Anti-Ransomware) ผ่านเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลขั้นสูง สามารถสร้าง Snapshot ได้ในปริมาณรวมกันมากกว่า 100,000 session (1000 session/Volume) ซึ่งนำมาใช้เป็นข้อมูลในการสร้างระบบปกป้องข้อมูลเพื่อป้องกันแรนซัมแวร์ได้เป็นอย่างดี

ด้วยเทคโนโลยีสตอเรจ HPE ALLETRA 6000 พร้อมแนวคิด dHCI ของเอชพีอีนี้เอง จะช่วยให้ทุกองค์กรสามารถพัฒนาระบบจัดการข้อมูลบนคลาวด์-เนทีฟที่มีประสิทธิภาพพร้อมรับทุกการเปลี่ยนแปลงภายใต้ลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด


บทความโดย นายสุภัค  ลายเลิศ
กรรมการอำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ
บริษัท ยิบอินซอย จำกัด

Previous
Previous

Karos Online ตำนานแห่งเกม MMORPG เปิดให้เล่นอย่างเป็นทางการแล้ว! พร้อมเสิร์ฟความมันยกเซิร์ฟ

Next
Next

เปิดงาน “BIDC 2022” สุดอลัง พร้อมงานประกาศรางวัล BIDC Awards ในรูปแบบ Virtual Event