PaM++ แนะกลยุทธ์การตลาดฟื้นธุรกิจกลุ่มโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหารหลังวิกฤต Covid-19

เป็นที่ทราบกันดีว่าการระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อทั้งประชาชนและทุกธุรกิจทั่วโลก ประเทศไทยเองก็เช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โรงแรม และร้านอาหาร ที่ ประสบกับขาลงของธุรกิจอย่างหนักหน่วงก่อนธุรกิจอื่นตั้งแต่ในระยะแรกของการระบาด

Pam x Puff-OnlineMag.jpg

จากข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ลดลงจากปีก่อน ถึง 42.78% แต่ถ้าดูจากจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ เฉพาะ 15 อันดับแรกในไตรมาสแรกของปีนี้ที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้เก็บสถิติไว้จะพบว่าประเทศจีนลดลง 59.4%, ญี่ปุ่น ลดลง 28%, รัสเซีย ลดลง 0.6%, สิงคโปร์ ลดลง 37%, อินเดีย ลดลง 33.6%, เกาหลีใต้ ลดลง 44.2%, มาเลเซีย ลดลง 38.3%, ฮ่องกง ลดลง 49.8%, เวียดนาม ลดลง 26.5%, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 20.1%, กาตาร์ ลดลง 5.0%, ไต้หวัน 32.5%, กัมพูชา 23%, พม่า ลดลง 26.3% และอินโดนีเซีย ลดลง 29.3%  ดังนั้นกลุ่มธุรกิจโรงแรมเองก็ได้รับผลกระทบอย่างมากจากยอดการจองห้องพักที่ลดลง เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง รวมถึงร้านอาหาร และธุรกิจบริการอื่น ๆ อย่าง ฟิตเนส สปา การสันทนาการ และอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ก็ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉินของรัฐบาล จึงทำให้โรงแรมชั้นนำหลายแห่งตัดสินใจประกาศปิดโรงแรมชั่วคราวเกือบทั้งหมดภายในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน และบางโรงแรมก็เสนอให้เป็นสถานที่กักตัว ของกลุ่มเสี่ยงซึ่งแน่นอนว่ายอดขายที่ได้ก็ยังไม่สามารถชดเชยรายได้ที่หายไป

ปนัสพร (แพม) นพศรี กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง PaM++ ผู้นำด้าน Brand and Marketing Agency หนึ่งในนักการตลาดหญิงซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในด้านการสร้างแบรนด์และสื่อสารการตลาด โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท และร้านอาหารทั้งแบรนด์ทั้งในไทยและต่างประเทศ ผู้มากประสบการณ์และคร่ำหวอดอยู่ในอุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหารมาอย่างโชกโชน กล่าวถึง ภาพรวมของธุรกิจในปัจจุบันจากวิกฤติ COVID-19 พร้อมแนะกลุยทธ์ด้านการตลาดเพื่อฟื้นฟูธุรกิจกลุ่มโรงแรม รีสอร์ท และร้านอาหาร ให้สามารถปรับตัว รวมถึงการสร้างแบรนด์และยุทธวิธีที่ดีในการสื่อสารการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถ “กลับมา” ได้อีกครั้ง  “สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้รายได้หลักจากกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม และร้านอาหาร หดหายไปอย่างคาดการณ์ไม่ได้เมื่อเทียบกับสภาวการณ์ปกติ ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาคือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) ได้รับผลกระทบอย่างหนัก  BBC Thailand ได้ให้ข้อมูลว่า นั่นเป็นเพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยด้วย

สัดส่วนเกือบ 16% ของทั้งหมด โรงแรมและร้านอาหารหลายแห่งปรับตัวแล้วหันไปต่อสู้ด้วยการทำขายอาหารแบบนำกลับบ้าน หรือส่งถึงบ้าน เพราะร้านอาหารทั้งหมดในกรุงเทพฯ ไม่ได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารที่ร้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าในช่วงระหว่างวันที่ 22 มี.ค. – 30 เม.ย. 2563 เงินหมุนเวียนส่วนนี้ จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาปกติราว 1,200 ล้านบาท   แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารยังคงเป็นธุรกิจที่มีขยายการเติบโตขึ้นและคนส่วนใหญ่คุ้นเคย แม้ว่าการรับประทานอาหารนอกบ้านและการเดินทางท่องเที่ยวนั้นถูกมองว่าเป็นเรื่องของความหรูหรา ไม่ได้จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคน แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เช่นกันว่าเรื่องเหล่านี้ค่อย ๆ กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งแพมเชื่อว่าไม่ว่าอย่างไรอุตสาหกรรมนี้จะกลับมาฟื้นคืนสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว และแน่นอนว่า ‘ผู้ที่มีกลยุทธ์ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง’ ฉะนั้น หากใครมีวิธีดึงดูดใจลูกค้าได้ดีกว่าก็จะกลับมาได้เร็วกว่า เพราะหลังจากเหตุการณ์นี้สิ้นสุดลง ผู้บริโภคก็พร้อมจะกลับไปใช้ชีวิตนอกบ้านอย่างมาก การต่อสู้ในอุตสาหกรรมนี้จึงจะดุเดือดกว่าที่เคยเป็นมา” ปนัสพร กล่าว

andrew-seaman-sQopSb2K0CU-unsplash.jpg

ข้อแนะนำและกลยุทธ์การตลาดที่เป็นประโยชน์สำรับผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร จาก PaM++ (แพม พลัส พลัส) มีดังนี้:

ก่อนที่คุณจะเริ่มทำแคมเปญการตลาดใด ๆ (หรือเริ่มใช้จ่ายเงินในการทำการตลาด) ให้ประเมินสถานการณ์ปัจจุบันของคุณก่อนทั้งปัจจัยภายในและภายนอก กุญแจสำคัญคือจุดขายที่ไม่ซ้ำใครของคุณ (หรือถ้าไม่มีก็ลองสร้างขึ้นในช่วงนี้ไปพลาง) และมองตลาดให้ขาด เพื่อดูว่าคู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อมของคุณกำลังทำอะไรอยู่ อย่ารีบเอาแผนการตลาดเดิมที่คิดไว้ก่อนเหตุการณ์ออกมาทำต่อทันที

สร้างบทสรุปของธุรกิจ (Executive Summary) โดยเน้นไปที่การเปิดตัวโรงแรม, รีสอร์ท และร้านอาหารใหม่หลังจากวิกฤติ COVID-19 และสร้างแผนการสื่อสารที่เกี่ยวข้อง บทสรุปนี้ควรจะครอบคลุมถึงหลาย ๆ ฝ่ายที่ต้องร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อให้การกลับมาครั้งนี้มีประสิทธิภาพสมบูรณ์ที่สุด

เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส ใช้โอกาสนี้ในการปรับโครงสร้างการสื่อสารการตลาด เพื่อให้ได้ทีมที่มีประสิทธิภาพและสามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้ได้อย่างรวดเร็ว ได้เวลาปัดฝุ่นแบรนด์และการวางตำแหน่งแบรนด์เสียใหม่เพื่อปรับให้เข้ากับความปกติในรูปแบบใหม่ (New Normal) ของการสื่อสารการตลาดที่จะเกิดขึ้นหลังจากวิกฤติ COVID-19

หากคุณกำลังจะทำแคมเปญแบบเต็มสูบ อย่าลืมสร้างแผนการสื่อสารให้เต็มรูปแบบด้วยเช่นกัน เพื่อการกลับมาที่ยิ่งใหญ่อีกครั้ง

เข้าไปนั่งในใจของผู้บริโภค จี้จุดปัญหาที่ผู้บริโภคของเรากำลังเชิญอยู่ หาความต้องการของพวกเขาหลังวิกฤติ COVID-19 ให้เจอ และสร้างแผนการตลาดที่เฉพาะเจาะจง ตรงประเด็น ตรงเป้าหมายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อโปรโมทโรงแรมให้กับคนในประเทศและต่างประเทศ

จัดทำแผนธุรกิจทั้งหมดเสียใหม่ นั่นรวมทั้งฝ่ายการสื่อสารการตลาดควบคู่ไปกับแผนของฝ่ายต่างๆ ในบริษัท

“COVID-19 ส่งผลกระทบต่อพวกเราทุกคนและจะยังคงมีผลต่อการดำเนินชีวิตของเราต่อไป แม้ว่าวิกฤติครั้งนี้จะจบลงแล้ว นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราไม่แนะนำให้โรงแรม รีสอร์ท และร้านอาหาร 'แค่ทำเพราะต้องทำ' เช่น ไม่ควรแค่จัดโปรโมชั่นลดราคาห้องพัก หรือเพียงแค่ให้สิทธิประโยชน์อื่นแถมเข้าไปเพิ่มจากการจองอย่างที่ทำกันอยู่ตามปกติเท่านั้น แผนที่ดีต้องมีการปรับให้เข้ากับความปกติในรูปแบบใหม่ (The New Normal) ไม่ว่าจะเป็นแผนโซเชียลมีเดีย แผนการประชาสัมพันธ์ การทำโปรโมชั่น การโฆษณา หรือแผนการตลาดในภาพใหญ่ ที่สำคัญคู่แข่งของเราล้วนกำลังปรับเปลี่ยนกลยุทธิ์กันทั้งนั้น แต่เราจะโดดเด่นขึ้นมาได้อย่างไร” ปนัสพร กล่าวเสริม

PaM++ (แพม พลัส พลัส) แม้จะเอเจนซีขนาดเล็กแต่ก็แกร่งประสบการณ์ ทั้งยังได้รับความไว้วางใจจากองค์กรชั้นนำระดับประเทศและระดับโลก ด้วยปรัชญาที่เป็นเอกลักษณ์ของบริษัทเพื่อช่วยเหลือลูกค้าของเรา คือ

1.    คิดและทำแบบองค์รวม ทั้งการตลาดออนไลน์ การตลาดออฟไลน์ การตลาดทางโดยตรง และเชื่อมโยงทุกแพลตฟอร์มเข้าด้วยกัน

2.    การจัดสรรงบประมาณอย่างชาญฉลาดและสร้างสรรค์

3.    วางกลยุทธ์ตามแผนงานเพื่อการวางตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนและกิจกรรมทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

4.    การสร้างแบรนด์และการวางตำแหน่งแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมาก่อนเสมอ

“หากคุณต้องการความช่วยเหลือด้านการตลาด เราอยู่ที่นี่เพื่อคุณ พวกเราลำบากมาด้วยกัน เราต่อสู้มาด้วยกัน ถึงเวลาที่ต้องร่วมกันต่อสู้อีกครั้งแล้ว เราเข้าใจคุณดี เพราะเราผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้เช่นเดียวกัน หากคุณไม่ต้องการสู้เพียงลำพัง หรือไม่ทราบว่าจะทำด้วยตัวเองได้อย่างไร เราสามารถช่วยคุณได้ เรายินดีให้คำปรึกษา พร้อมกับแพ็คเกจและข้อเสนอพิเศษมากมายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เพราะเราต้องการคุณและคุณก็ต้องการเรา” ปนัสพร กล่าวสรุป

PaM++ ยินดีให้คำปรึกษาและประเมินสถานการณ์ฟรี! พร้อมข้อเสนอหลากหลายที่เหมาะกับสำหรับทุกองค์กร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ answers@pamplusplus.com หรือ 089 244 5588 เข้าชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.pamplusplus.com 

Previous
Previous

เปิดตัวหนังสือ ‘30 ปี เอไอเอส ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา’ สร้างแรงบันดาลใจเต็มๆ

Next
Next

L’ÉCOLE โรงเรียนจิวเวลรีชื่อดังของปารีสภายใต้ Van Cleef & Arpels เปิดห้องสมุดออนไลน์