การเดินทางของ Hermès สู่ขอบฟ้าดั่งความฝันครั้งใหม่ กับเรือนเวลา Arceau Le temps voyageur

การเดินทางของแอร์เมส (Hermès) ยังคงเดินหน้าต่อ สู่ขอบฟ้า ดั่งความฝันครั้งใหม่ ที่ซึ่งเวลาออกเดินทางผ่านเพียงมิติเดียว แม้ดูราวกับไร้ซึ่งพรมแดน แต่การเคลื่อนไหวที่ไม่มีสิ้นสุดนี้ยังคงสว่างไสวและสนุกสนานกับเวลาแห่งโลกที่ชวนให้ออกเดินทางท่องเที่ยวไปทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะที่นี่หรือที่อื่นใด พร้อมๆกับจิตวิญญาณที่ออกโบยบินอย่างอิสระและพัดพาเราถลาบินบนปีกแห่งความฝัน

Hermès Arceau Le temps voyageur is the cover news on September 2022, the photo courtesy of Hermès

เตรียมออกเดินทางสู่การค้นพบโลกของเรา พร้อมปลดปล่อยตนเองสู่พรมแดนแห่งจินตนาการ และรับรู้ถึงการเคลื่อนไหว ผ่านเรือนเวลา อาร์โซ เลอ ตอมป์ส โวยาเชอร์ (Arceau Le temps voyageur) ที่กลายเป็นดั่งสหายแห่งความเป็นหนึ่งเดียว

ความกระตือรือร้นใคร่รู้และการรักษาไว้ซึ่งเวลาอันแสนล้ำค่า ด้วยทั้งความคลาสสิกและดั้งเดิม ที่อองรี ดอริญี (Henry d’Origny) ได้รังสรรค์คอลเลกชันอาร์โซ (Arceau) ในปี ค.ศ. 1978 นั้น ได้มอบซึ่งการแสดงออกครั้งใหม่แห่งสไตล์ และชวนให้นึกถึงจิตวิญญาณแห่งการเดินทางตามแบบวิถีแห่งแอร์เมสกับการหลีกหนีที่อยู่เหนือไปกว่าเพียงการเดินทาง นั่นคือการค้นพบโลกแห่งจินตนาการเสมือนจริง ที่ซึ่งพรมแดนต่างๆนั้นได้ถูกลบให้ลางเลือน และนักเดินทางได้ปรากฏตัวอยู่ทั้งในความเป็นจริงและในความฝัน

ขณะที่เวลาหยุดอยู่นิ่งกับที่ภายใต้ความงดงามที่ค่อยๆผันแปรเปลี่ยนไป จักรวาลของแอร์เมสจึงเป็นดั่งการเชื้อเชิญตลอดกาลสู่การเดินทาง ด้วยเวลาแห่งคุณภาพที่กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะหนึ่งเดียว และนําทางไปสู่ความกระตือรือร้นและความใคร่รู้ เช่นเดียวกับสู่ความมหัศจรรย์และจินตนาการอันเพ้อฝัน ซึ่งทั้งหมดนั้นเชื่อมโยงถึงการออกเดินทางเพื่อค้นพบกับโลกด้วยใจที่เปิดกว้าง ด้วยความกล้าที่จะก้าวไปไกลยิ่งกว่า รวมถึงเดินทางผ่านวัตถุต่างๆ

รังสรรค์ขึ้นในแพลทินัมและไทเทเนียม หรือสตีลทั้งหมด ด้วยตัวเรือนทรงกลมพร้อมหูตัวเรือนแบบอสมมาตร ที่เผยให้เห็นถึงการอ่านค่าเวิลด์ไทม์ (world time) ในวิถีใหม่ โดยการเดินทางฝ่าแรงดึงดูดข้ามทวีปแบบนับไม่ถ้วน ด้วยการเคลื่อนที่จากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง กับการบินข้ามไทม์โซน หรือการหลีกหนีจากความเป็นจริงที่จับต้องได้ และขณะที่ออกเดินทาง

โฉมหน้าของนาฬิกาเรือนนี้จะถูกเปลี่ยนรูปไปเช่นกัน และเผยไปสู่มิติอื่นๆ เสมือนดาวบริวารที่เคลือนโคจรไปบนแผนที่อันแสนอัศจรรย์ ดุจดั่งดาวเคราะห์ซึ่งวาดจินตนาการขึ้นโดย เฌอโรม คอลลิยาร์ด (Jérôme Colliard) ผู้ซึ่งรังสรรค์ผลงานให้กับผ้าพันคอไหม

แพลนิสเฟียร์ เดอ’อุน มอนเด เอเควสเตร (Planisphere d’un monde équestre) ซึ่งเป็นตัวแทนการอุปมาถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างม้า และเฮาส์ ออฟ แอร์เมส (House of Hermès) โดยงานออกแบบนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโลกใบใหญ่ยักษ์ ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นโดยนักออกแบบกราฟิกชาวฝรั่งเศสสําหรับการแข่งขันโชว์กระโดดม้า Saut Hermès ปี ค.ศ. 2016  ณ กรุงปารีส แผนที่โลกแห่งจินตนาการนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากผลงานชิ้นเก่าแก่ที่ถ่ายทอดภาพงานวาดเขียนอันแปลกตา

รวมถึงชื่อต่างๆที่ชวนให้หวนนึกถึงความรักของผู้ขี่ม้าที่มีต่อขุนเขาอันกว้างใหญ่ไพศาล ดูคล้ายกับวาดมาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ของนักภูมิศาสตร์แห่งดินแดนที่ไม่อาจมองเห็น การตีความอันมีเอกลักษณ์เฉพาะหนึ่งเดียวนี้ได้เชื้อเชิญคุณให้เดินทางผ่านอาณาจักรแห่งจินตนาการของแอร์เมส เพื่อฝันถึงโลก ขณะที่ชื่นชมภาพแห่งดาวเคราะห์อันแสนวิเศษนี้ และเพื่อค้นพบความน่าหลงใหลของดาวดวงนี้โดยการเดินทางตามการเคลื่อนโคจรของดาวบริวาร

Planisphère

เหนือฉากหลังสีดําสนิทหรือสีน้ำเงินเข้ม ได้เผยภาพของทวีปและมหาสมุทรต่างๆของจักรวาลราวดั่งฝันนี้ ที่โดดเด่นด้วยการตกแต่งแบบนูนและมีมิติ รวมถึงงานฝีมือการตกแต่งอันประณีตวิจิตรอื่นๆ ทั้งงานแล็กเกอร์, งานขัดแซนด์บลาสต์ (sandblasted), ขัดแต่งลายซันเบิรสต์ (sunburst), การพิมพ์ประทับ หรือแม้แต่การโปรยผงเงิน ซึ่งหล่อหลอมสู่การตีความอันเปี่ยมด้วยสไตล์สมบูรณ์แบบด้านฟังก์ชัน และจิตวิญญาณแห่งความสลับซับซ้อนของการแสดงเวลาเวิลด์ไทม์ที่บรรจุไว้ภายในเรือนเวลาชั้นสูง (haute horlogerie) อันแสนคลาสสิกนี้โดยถ่ายทอดผ่านจักรกล “ทราเวลลิ่ง ไทม์” (Travelling time) ซึ่งพัฒนาขึ้นเฉพาะสําหรับแอร์เมส ด้วยการแสดง 24 ไทม์โซนโดยวิธีการของดิสก์วงกลมจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง ดาวบริวารนี้จะมอบโอกาสให้ผู้สังเกตการณ์สามารถค้นพบโลกได้อย่างกว้างไกลยิ่งขึ้น พร้อมทั้งปลดปล่อยตนสู่อิสระและโอบกอดทุกๆชั่วโมงทั้งหมดของโลกใบนี้ไว้ได้เพียงชั่วพริบตา

โดยหน้าปัดที่เคลื่อนไหวได้ครอบครองพื้นที่บนหน้าปัดของเรือนเวลานี้ ร่วมไปกับช่องหน้าต่างทรงโค้งบนขอบหน้าปัด ณ ตําแหน่ง 12 นาฬิกา ซึ่งทําหน้าที่แสดงเวลาบ้านเกิด (home time) ขับเคลื่อนด้วยโมดูลพิเศษประกอบขึ้นจากชิ้นส่วน 122 ชิ้น และบรรจุภายใต้ความหนาเพียง 4.4 มม. ในฐานะตัวแทนแห่งความท้าทายด้านเทคนิคและความสวยงามอย่างแท้จริง ไม่เท่านั้นความสลับซับซ้อนของ “ทราเวลลิ่ง ไทม์” ยังผสมผสานไว้ภายในกลไกจักรกลไขลานอัตโนมัติ แอร์เมส เอช1837 (Hermès H1837) จักรกลที่มอบพลังการขับเคลื่อนให้กับทั้งการแสดงชั่วโมง นาที และเวิลด์ไทม์ทั้งหมดผ่านเรือนเวลาอาร์โซ เลอ ตอมป์ส โวยาเชอร์สองรุ่น ทั้งการตีความอันสง่างามภายใต้ตัวเรือนแพลทินัม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 41 มม. ที่เสริมเสน่ห์ด้วยขอบตัวเรือนไทเทเนียมเคลือบ ดีแอลซี (DLC) สีดําแบบด้าน และเวอร์ชันสตีลทั้งเรือนด้วยตัวเรือนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 38 มม.

โดยทั้งสองรุ่นล้วนประกอบมาพร้อมสายหนังจระเข้ หรือสายหนังวัวสวิฟต์ (Swift) ที่รังสรรค์ขึ้นภายในห้องปฏิบัติการ แอร์เมส ออร์โลเฌอร์ (Hermès Horloger) อันสอดคล้องตามแบบวิถีและความเชี่ยวชาญในการรังสรรค์อานม้าและเครื่องหนังที่ปลูกฝังและสืบทอดไว้อย่างมั่นคงโดยเฮาส์แห่งนี้


คุณสมบัติจําเพาะทางเทคนิค

หน้าปัด

  • ลวดลาย แพลนิสเฟียร์ เดอ’อุน มอนเด เอเควสเตร ที่ออกแบบโดย เฌอโรม คอลลิยาร์ด

เวอร์ชั่นสีดํา

  • หน้าปัดกัลวาไนซ์พิมพ์ประทับด้วยสีเทาอ่อนของชื่อทวีปและสัณฐานต่างๆ มหาสมุทรแกะสลักด้วยเลเซอร์ จากนั้นจึงตกแต่งด้วยแล็กเกอร์ พิมพ์ประทับด้วยสีเทาชาร์โคลเป็นเส้นเมริเดียนและเส้นขนาน (meridians and parallels)

  • หน้าปัดย่อยเคลื่อนไหวได้ตกแต่งแบบแซนด์บลาสต์ พร้อมด้วยขอบแบบไล่เฉดด้วยแล็กเกอร์ทองสีดํา ตัวเลขอารบิกพิมพ์ประทับด้วยผงโทนสีเงิน

  • ขอบวงแหวนชื่อเมืองสีดําตกแต่งแบบแซนด์บลาสต์ ชื่อเมืองต่างๆพิมพ์ประทับด้วยผงโทนสีเงิน แสดงเวลาไทม์โซนบ้านเกิด (Home Time zone) และหน้าต่างแสดงชั่วโมง ณ ตําแหน่ง 12 นาฬิกา

  • เข็มชี้ทองสีดําเคลือบด้วยสารเรืองแสงซูเปอร์-ลูมิโนวา (Super-LumiNova®)

เวอร์ชั่นสีน้ำเงิน

  • หน้าปัดกัลวาไนซ์พิมพ์ประทับด้วยสีน้ำเงินของชื่อทวีปและสัณฐานต่างๆ มหาสมุทรแกะสลักด้วยเลเซอร์ จากนั้นจึงตกแต่งแล็กเกอร์ พิมพ์ประทับด้วยสีน้ำเงินเป็นเส้นเมริเดียนและเส้นขนาน (meridians and parallels)

  • หน้าปัดย่อยเคลื่อนไหวได้ตกแต่งขอบไล่เฉดด้วยแล็กเกอร์สีน้ำเงิน ตัวเลขอารบิกพิมพ์ประทับสีขาว

  • ขอบวงแหวนชื่อเมืองสีน้ำเงินตกแต่งแบบขัดด้านซาตินวงกลม ชื่อเมืองต่างๆพิมพ์ประทับด้วยสีขาว แสดงเวลาไทม์โซนบ้านเกิด (Home Time zone) ด้วยสีน้ำเงิน ตกแต่งแบบขัดด้านซาตินและขัดแต่งซันเบิรสต์ (sunburst) รวมถึงหน้าต่างแสดงชั่วโมง ณ ตําแหน่ง 12 นาฬิกา

  • เข็มชี้ชุบโรเดียมเคลือบด้วยสารเรืองแสงซูเปอร์-ลูมิโนวา (Super-LumiNova®

ตัวเรือน

  • ออกแบบโดย อองรี ดอริญี ในปี ค.ศ. 1978

  • กระจกแซฟไฟร์เคลือบกันแสงสะท้อนและฝาหลัง

  • กันน้ำได้ระดับ 3 บาร์ (30 เมตร)

เวอร์ชั่นสีดํา

  • ตัวเรือนแพลทินัม (≈ 21.48 กรัม) และขอบตัวเรือนตกแต่งแบบบีดบลาสต์ (bead-blasted) ทําจากไทเทเนียม เกรด 5 (Ti 88%) เคลือบ ดีแอลซี (DLC) สีดําแบบด้าน

  • ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 41 มม. ความกว้างระหว่างหูตัวเรือนเชื่อมสาย 21 มม.

เวอร์ชั่นสีน้ำเงิน

  • ตัวเรือนสตีล 316แอล (316L) ทั้งในเวอร์ชั่นโลหะทั้งเรือน หรือประดับด้วยเพชร 78 เม็ด (≈ 0.491 กะรัต)

  • ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 38 มม. ความกว้างระหว่างหูตัวเรือนเชื่อมสาย 20 มม.


 กลไก

  • กลไกแมนูแฟคเจอร์ แอร์เมส เอช1837

  • จักรกลไขลานอัตโนมัติ สวิสเมด (Swiss made)

  • ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง: 26 มม. (11 1/2’’’) ความหนา: 3.7 มม.

  • ชิ้นส่วน 193 ชิ้น, ทับทิม 28 เม็ด

  • ความถี่: 28,800 ครั้งต่อชั่วโมง (4 เฮิรตซ์)

  • แท่นเครื่องตกแต่งลายเกรนวงกลมและลายขดหอย สะพานจักรและโรเตอร์ขึ้นลานขัดด้านซาติน ตกแต่งลวดลายสัญลักษณ์ “sprinkling of Hs”

โมดูล

  • โมดูล “Travelling Time” เอ็กซ์คลูซีฟ

  • ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง: 32.7 มม. (14 ½’’’) ความหนา: 4.4 มม.

  • ชิ้นส่วน 122 ชิ้น, ทับทิม 7 เม็ด

  • สะพานจักรขัดแต่งแบบบีดบลาสต์

ฟังก์ชั่น

  • ชั่วโมง, นาที, เวิลด์ไทม์


สาย

เวอร์ชั่นสีดํา

  • สายหนังจระเข้สีกราไฟต์แบบด้าน

  • สายหนังวัวแบรีเนีย (Barenia) สีดํา

  • สายหนังวัว สวิฟต์ (Swift) สีเทากระดานชนวน

  • หัวเข็มขัดแบบหมุด 17 มม. ทําจากไทเทเนียม เกรด 5 (Ti 88%) เคลือบดีแอลซีสีดํา ตกแต่งแบบบีดบลาสต์

เวอร์ชั่นสีน้ำเงิน

  • สายหนังจระเข้สีน้ำเงินแซฟไฟร์แบบผิวเรียบ

  • สายหนังวัวสวิฟต์ (Swift) สีน้ำเงินเข้ม

  • หัวเข็มขัดแบบหมุด 17 มม. ทําจากสตีล 316 แอล


Previous
Previous

Anya Taylor-Joy เป็นแอมบาสเดอร์คนใหม่ของ Jaeger-LeCoultre

Next
Next

DOLCE & GABBANA ผสานความวิจิตรประณีตในจิลเวลรี่คอลเล็กชั่นใหม่ EASY RAINBOW