เพจ Anti-Sexual Harassment Thailand และนิตยสารออนไลน์ PUFF. ร่วมรณรงค์การต่อต้านการละเมิดและคุกคามทางเพศ
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ใน ประเด็นของสตรีกับเทคโนโลยี STOP CYBER SEXUAL HARASSMENT โดยมีเพจ Anti-Sexual Harassment Thailand นำโดย ชีวิน สุนสะธรรม และ PUFF. (พัฟ) นิตยสารผู้หญิงออนไลน์อันดับหนึ่ง Google Search Engine ร่วมเป็นวิทยากร
โดยในงานมีสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนในแต่ละจังหวัดเข้าร่วมฟังบรรยาย กิจกรรมใยวันงานแบ่งเป็น 2 ช่วง
ช่วงเช้า การบรรยายให้ความรู้ และสิทธิ์ที่จะป้องกันตนเองเมื่อตกเป็นเหยื่อ พร้อมกรณีศึกษาจากผู้ที่เคยมีประสบการณ์โดนคุกคามทางเพศในหลากรูปแบบ รวมถึงหน้าที่และบทบาทของสื่อต่อเรื่องการคุกคามทางเพศ
ช่วงบ่าย กิจกรรมเวิร์คช้อป หัวข้อ การสร้างแคมเปญเพื่อการกระตุ้นจิตสำนึก และตระหนักรู้ในเรื่องการหยุดคุกคามทางเพศ
โดยงานทีจัดขึ้นนี้ เยาวชนกว่า 50 คนต่างให้ความสนใจและร่วมกิจกรรมกันอย่างเต็มความสามารถเพื่อหวังจะรณรงค์และผลักในเรื่อง การหยุดคุกคามทางเพศออกสู่สังคมที่กว้างขึ้น ทั้งนี้ อาจาร์ยชีวิน สุนสะธรรม เจ้าของเพจ Anti-Sexual Harassment Thailand ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า
“การคุกคามทางเพศคือการขอหรือการเรียกร้องเกี่ยวกับเรื่องเพศ เช่นขอจับหน้าอก ขอดูรูปอนาจาร ขอจับมือ ซึ่งการของดีอาจกระทำด้วยวาจาหรือการกระทำ โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมหรือไม่เต็มใจจนก่อให้เกิดความรำคาญ โดยคำสำคัญของการคุกคามทางเพศคือการไม่ยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง”
เช่นหากคนสองคนยินยอมที่จะจับมือกันอันนั้นไม่ถือว่าเป็นการคุกคามทางเพศแต่หากฝ่ายหนึ่งพยายามจับมือหรือแตะเนื้อต้องตัวอีกฝ่ายหนึ่งส่วนอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมถือเป็นว่าเป็นการคุกคามทางเพศ นอกจากนั้นการคุกคามทางเพศโดยเฉพาะในที่ทำงานมักจะมีเรื่องของผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องด้วยเช่นการเลื่อนขั้นการขึ้นเงินเดือนหรือแม้กระทั่งการถูกไล่ออก ดังนั้นจะเห็นว่าการคุกคามทางเพศโดยเฉพาะในที่ทำงานนั้นจะไม่ใช่เรื่องเพศที่เป็นตัวสำคัญหรือก่อให้เกิดปัญหาแต่จะเป็นเรื่องของอำนาจหรือพาวเวอร์มากกว่า ในหนังสือบางเล่มได้กล่าวไว้เลยว่า sexual harassment is less about sex than it is about power.
สำหรับการคุกคามทางเพศผ่านสื่อออนไลน์ จะมีการกระทำอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ
1. ขอให้ผู้อื่นส่งภาพหรือข้อความอนาจารให้ตัวเอง
2. ส่งภาพหรือข้อความอนาจารให้ผู้อื่น
3.นำภาพหรือข้อความอนาจารของผู้อื่นไปเผยแพร่
เราจะรู้ได้ยังไงว่าสิ่งที่เราถูกกระทำหรือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่เป็นการคุกคามทางเพศหรือไม่
“ผู้ค้ำทางเพศนั้นมักจะมีองค์ประกอบด้วยกันอยู่ 4 ข้อ องค์ประกอบแรกคือการกระทำ ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการกระทำเกิดขึ้นก่อนถ้าไม่มีการกระทำใดๆเกิดขึ้นเช่นไม่มีการแตะเนื้อต้องตัวไม่มีการส่งข้อความเชิงชู้สาวมาหาไม่มีการกระทำใดๆมันก็จะถือว่าเป็นการคุกคามทางเพศไม่ได้ 2 การกระทำดังกล่าวนั้นจะต้องมีการไม่ยินยอม เช่นถ้าผู้ชายคนหนึ่งเขียนไปหาผู้หญิงคนหนึ่งบอกว่าช่วยส่งรูปใส่ชุดว่ายน้ำมาให้หน่อยได้ไหมถ้าส่งมาให้เดี๋ยวจะให้เงินแล้วผู้หญิงคนนั้นก็ยินยอมถ่ายชุดว่ายน้ำแล้วส่งให้ผู้ชายผู้หญิงคนนั้นจะบอกว่าผู้ชายได้ทำการคุกคามทางเพศผ่านสื่อไม่ได้เพราะตัวผู้หญิงเองก็ยินยอมที่จะทำเช่นนั้น
ดังนั้นการคุกคามทางเพศจะเกิดขึ้นจากการไม่ยอมขึ้น ซึ่งปัญหาตรงนี้ก็เป็นจุดสำคัญในคดีข่มขืนบางคดีด้วยเพราะผู้หญิงบางคนที่ไปแจ้งความเรื่องของการถูกข่มขืนแต่พิสูจน์ออกมาเหมือนผู้หญิงยินยอมแต่ผู้หญิงก็ยืนยันว่าเหตุผลที่ยินยอมเพราะกลัวตาย ซึ่งเราก็คงจะต้องพิสูจน์กันต่อว่าเหตุผลที่อินเดียแบบนั้นคืออะไร องค์ประกอบที่ 3 ของการลวนลามทางเพศก็คือการเรียกร้องหรือการร้องขอนั้นจะต้องเกี่ยวกับเรื่องเพศ เช่นถ้าผู้หญิงบอกผู้ชายว่าเอาเงินมาให้ฉัน ถ้าเอามาให้ฉันจะเลื่อนตำแหน่งให้จะเห็นว่าไม่มีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้องเลยดังนั้นการกระทำแบบนี้จะไม่เรียกว่าคุกคามทางเพศแน่นอน
องค์ประกอบสุดท้าย คือ ผลกระทบการคุกคามทางเพศนั้นมักจะมีผลกระทบเกิดขึ้นหรือมีข้อแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น เช่นมีคนบอกว่าช่วยส่งรูปใส่ชุดว่ายน้ำมาให้ฉันดูหน่อยอีกฝ่ายไม่ส่งเพราะรู้ว่าจะส่งหรือไม่ส่งก็ไม่เดือดร้อนอันนี้ก็ถือว่าเป็นการคุกคามทางเพศแต่ว่าไม่ประสบความสำเร็จไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าผู้ชายคนนึงเอารูปอนาจารของแฟนเก่าไปโพส ซึ่งการกระทำแบบนี้ย่อมมีเหตุผลเช่นแก้แค้นต้องการทำให้อายพวกนี้ถือว่าเป็น การคุกคามทางเพศทั้งสิ้นการคุกคามทางเพศทั้งสิ้น
การคุกคามทางเพศมีกี่ชนิด
“ถ้าเป็นการคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นในที่ทำงานส่วนใหญ่เราจะแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ quit pro quo harassment กับ hostile environment harassment
แบบแรก คือ การคุกคามที่เจ้านายเรียกร้องต่อลูกน้องหรืออาจจะเป็นเพื่อนร่วมงานเรียกร้องต่อเพื่อนร่วมงานด้วยกันเพื่อผลประโยชน์การเรียกร้องอาจจะเกิดขึ้นทางตรงหรืออาจจะเกิดขึ้นทางอ้อมก็ได้
แบบที่ 2 นั้นคือการสร้างบรรยากาศที่ให้รู้สึกอึดอัดและไม่สบายใจและผู้ที่อยู่ในที่ทำงานรู้สึกเหมือนกำลังถูกคุกคามทางเพศอยู่เช่นบรรยากาศที่ทำงานรู้สึกโอเคกับการพูดเรื่องตลกสกปรกนึกว่า dirty joke อาจจะพูดเรื่องใต้สะดือของผู้หญิงกันบ่อยๆจนทำให้ผู้หญิงที่ทำงานที่นั่นรู้สึกอึดอัดและเหมือนถูกคุกคามแบบนี้ก็เป็นการคุกคามทางเพศอีกแบบหนึ่ง
อาการคุกคามทางเพศแบบที่ 2 นั้นมันไม่ใช่แค่เรื่องการยินยอมหรือไม่ยินยอมเท่านั้นมันจะมีเรื่องของการกระทำซ้ำอยู่ด้วยเช่นถ้าสมมุติว่าที่ทำงานที่ 1 มีการเล่าเรื่องลามกอยู่แค่ครั้งเดียวแล้วก็ไม่มีการพูดอีกเลยอันนั้นจะไม่ถือว่าเป็นการสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการคุกคามทางเพศการสร้างบรรยากาศจะต้องเกิดขึ้นบ่อยๆ หลายๆ ครั้ง"
เราควรจะทำยังไงหากเราถูกคุกคามทางเพศที่ทำงาน
“เมื่อเราถูกคุกคามทางเพศที่ทำงานก็จะมีขั้นตอนเป็นข้อๆดังนี้นะครับคือ
เราต้องยอมรับก่อนว่าเราถูกคุกคามในเรามีปัญหาต้องมองเห็นปัญหา
เราต้องลองพูดคุยกับคนที่มาคุกคามเราไปครับขั้นตอนแรกคืออาจจะบอกเขาไปตรงๆว่าไม่ชอบการกระทำแบบนี้ให้เขาหยุดอันนี้คือวิธีที่เพลงอยู่กับน้องที่สุดถ้ายังไม่จบถ้าเขายังไม่หยุดก็จะเป็นข้อที่ 3
คือเอาเรื่องนี้ไปเล่าให้กับคนที่เราไว้ใจฟัง
เราต้องดูว่าที่บริษัทที่เราทำงานนั้นมีกฎระเบียบเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศอยู่บ้างหรือเปล่าถ้ามีเราก็ควรจะเอามาศึกษาดู
เราก็ต้องเริ่มเก็บข้อมูลหลักฐานในการคุกคามของเขาเช่นถ้าเป็นลายส่งมาหรือเป็นอีเมลส่งมาก็เก็บหลักฐานไว้บางทีอาจจะอัดเสียงในโทรศัพท์ไว้ก็ได้เก็บหลักฐานต่างๆไว้พร้อมกับวันที่ หลังจากที่เราได้เก็บข้อมูลหลักฐานแล้วขั้นตอนต่อไป
เราก็จะต้องนำเรื่องเหล่านี้ไปแจ้งให้กับผู้ที่รับผิดชอบในหน่วยงานของเราได้ทราบอาจจะเป็นฝ่ายบุคคลหรือแผนกใดๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องและคอยดูแลในเรื่องความปลอดภัยได้ที่ทำงาน
เราก็ต้องทำงานกับฝ่ายที่เขาอยากจะหาความจริงก็เชื่อเขาต้องการจะสืบสวนเราก็ทำงานร่วมกับเขาข่อยจับปลาและคราวนี้สืบสวนดู
หากผู้ที่ดูแลรับผิดชอบในองค์กรของเราไม่สามารถทำอะไรได้ครับเราก็คงต้องพึ่งพาหน่วยงานข้างนอกนะครับที่จะสามารถแก้ไขปัญหาตรงนี้ให้กับเราได้ก็ดูว่าหน่วยงานนั้นจะเป็นตำรวจหรือจะเป็นสื่อแล้วถ้าไม่เชื่ออะไรไม่ดีขึ้นกับท้ายสุดก็อาจจะต้องปรึกษาทนายปรึกษาฝ่ายกฎหมายของเราเพื่อที่จะดูว่าเราจะดำเนินการทางกฎหมายกับบุคคลที่มาคุกคามทางเพศกับเราหรือไม่
สำหรับขั้นตอนที่เกิดขึ้นออนไลน์ก็จะคล้ายๆกันตรงที่เราจะต้องหาคนที่เราไว้ใจปรึกษาดูแล้วก็เก็บหลักฐานต่างๆที่เขาทำเพื่อที่จะได้ดำเนินการทางกฎหมายแต่ว่าสิ่งแรกที่ควรจะทำก็คือต้องบอกเขาไปก่อนว่าเราไม่ชอบเราไม่สบายใจแต่เราไม่อยากเล่นด้วย
ถ้าเราถูกกล่าวหาว่าเราเป็นได้ต้องการทางเพศกับผู้อื่นเราควรจะทำอย่างไร
“ถ้ามีคนมากล่าวหาเราว่าเราไปคุกคามทางเพศกับผู้อื่นนั้นสิ่งแรกที่ควรจะทำก็คือเราก็จะต้องฟังผู้ที่กล่าวหาเราให้ตั้งใจให้ดีว่าการกระทำใดที่ทำให้เขารู้สึกว่าเราไปกับเขาหลังจากนั้นเราก็อาจจะต้องไปศึกษาเพิ่มเติมว่าการกระทำใดบ้างที่นับได้และนับไม่ได้แต่เราก็หยุดการกระทำนั้นหลังจากนั้นอาจจะต้องดูว่าเราต้องการที่ปรึกษาเราต้องการความช่วยเหลือหรือไม่โปรแกรมกระทำบางครั้งของเราเนี่ยมันเป็นการกระทำที่เราชอบทำโดยที่เราไม่รู้ตัวเราจะต้องไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแล้วก็หาทางเลือกทางแก้ไขการกระทำที่ทำให้ผู้อื่นไม่สบายใจแล้วก็พยายามแก้ไขให้เรียบร้อยมีเหตุการง่ายๆสั้นๆเวลาเราถูกกล่าวหาว่าเราได้ไปคุกคามทางเพศกับผู้อื่น”
ในเมืองไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศหรือไม่
“สำหรับในเมืองไทยได้มีการตามบทบัญญัติกฎหมายให้การรับรองคุ้มครองสิทธิของลูกจ้างเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพศ 2541 โดยต้องไปดูที่มาตรา 16 ได้กล่าวไว้ว่า ห้ามมิให้นายจ้างหรือผู้ซึ่งเป็นหัวหน้างานผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงานกระทำการล่วงเกินทางเพศต่อลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงหรือเด็กและมาตรา 147 ที่กล่าวว่าผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๑๖ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
สิ่งที่น่าสนใจ คือ การใช้คำว่า ล่วงเกิน หมายถึงอะไรคำว่าล่วงเกินหมายถึงแสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยร่วมจารีตประเพณีหรือจรรยามารยาทด้วยการรวนหลังหมายถึงล่วงเกินในลักษณะชู้สาวด้วยการพูดหรือกระทำเกินสมควรเช่นพูดจาลวนลามหรือถือโอกาสจับมือถือแขนอันนี้ล่วงเกินจะรวมถึงการดูหมิ่นประมาทด้วยส่วนคำว่าคุกคามหมายถึงแสดงอำนาจด้วยกิริยาวาจาที่ทำให้หวาดกลัวทำให้กลัวเด็กคำนึงที่จะเจออยู่ในกฎหมายอันนี้คือคำว่ารำคาญซึ่งหมายถึงระคายเคืองเบื่อทำให้เดือดร้อนเบื่อหน่ายดังนั้นก็จะมีกฎหมายอยู่ 2 มาตราที่สำคัญสำคัญที่เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในที่ทำงานอยู่
สำหรับการคุกคามทางเพศผ่านสื่อออนไลน์นั้นยังไม่มีการเอาผิดเรื่องของการคุกคามหรือลวนลามทางเพศผ่านสื่อออนไลน์อย่างชัดเจนแต่ก็จะมีพรบที่ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์มาตรา 14 ข้อ 4 ที่กล่าวว่าการนำข้อมูลที่มีลักษณะอันลามกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์การกระทำดังกล่าวถือว่ามีความผิดอาจต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับแล้วก็ที่เหลือก็อาจจะต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญาที่เอามาเทียบเคียงหรือเอามาต่อสู้ได้เช่นมาตรา 59 วรรค 2 พูดถึงเรื่องของเจตนาว่าผู้กระทำความผิดรู้อยู่แล้วว่าการกระทำของตนจะส่งผลอะไรต่อผู้ถูกกระทำบ้างมาตรา 397 ที่กล่าวว่าการกระทำรังแกหรือข่มเหงผู้อื่นจนได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญอาจต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับซึ่งก็จะเห็นว่าโทษน้อยมากเมื่อเทียบกับผลที่ตามมาที่เกิดขึ้นต่อผู้ถูกกระทำ
การคุกคามทางเพศ เป็นภัยที่เกิดขึ้นในสังคมที่เราทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน หยุดการกระทำ เช่นนี้อย่าปล่อยให้ความเคยชินที่มีกลายเป็นการคุกคามผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว
ติดต่อสอบถามการจัดบรรยายเรื่อง Anti-Sexual Harassment ให้หน่วยงานของคุณ
ได้ทาง https://www.facebook.com/shtrainingthailand/