เอบีม คอนซัลติ้ง เผย “จุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า” ในคอนโดกรุงเทพฯ ยังขาดแคลนและมีค่าใช้จ่ายที่สูงอยู่ซึ่งยังเป็นอุปสรรคต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้า
จำนวนจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ และค่าไฟฟ้าที่สูงเป็นอุปสรรคหลักในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่
(BEV: Battery Electric Vehicles) สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมหรืออาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (BMR: Bangkok Metropolitan Region) จากผลสำรวจล่าสุดเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 โดย เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย)
เอบีม คอนซัลติ้ง เผยว่าโครงการคอนโดมิเนียมทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV มีประมาณ 3% ของ นอกจากนี้ ประมาณ 3 ใน 4 ของคอนโดมิเนียมที่มีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้นมีจุดชาร์จรองรับได้เพียง
1 หรือ 2 คันพร้อมกันเท่านั้น โดยรวมแล้ว โครงการคอนโดมิเนียมทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพื้นที่สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริดได้เพียงประมาณ 400 คัน
ในปัจจุบัน คอนโดมิเนียมใช้รูปแบบการกำหนดราคาชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย โดยการกำหนดราคาตามเวลา (64%) เป็นรูปแบบที่พบบ่อยที่สุด รองลงมาคือการชำระค่าไฟฟ้าตามปริมาณที่ใช้ไป (31%) มีเพียง 1% ที่ใช้รูปแบบการคิดราคาคงที่ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาหรือหน่วยไฟฟ้า และอีก 4% มีบริการจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แบบไม่คิดค่าใช้จ่าย
โดยส่วนใหญ่แล้ว การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ในอาคารหรือคอนโดมิเนียมนั้นไม่ได้ถูกอย่างที่คิด มากกว่าครึ่งของโครงการคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลคิดอัตราค่าไฟฟ้าตามหน่วยคือ 10 บาท ต่อ กิโลวัตต์
ซึ่งมากกว่า 2 เท่าของค่าไฟฟ้าสูงสุดที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กำหนดที่ 4.7 บาท ซึ่งทำให้ผู้บริโภคที่คิดจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) เพื่อลดค่าน้ำมันจำเป็นต้องกลับไปทบทวนการตัดสินใจอีกครั้งเพราะการเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ในคอนโดส่วนใหญ่จำเป็นต้องเสียค่าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่ได้ถูกกว่าการเติมน้ำมันในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE: Internal Combustion Engine) ที่ประหยัดน้ำมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ไฮบริด
การวิจัยพบว่า 90% ของคอนโดมิเนียมมีที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าขนาด 22 กิโลวัตต์ ซึ่งมากเกินความจำเป็นสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ณ ปัจจุบันที่ส่วนใหญ่ยังรองรับการชาร์จแบบธรรมดาด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ได้ไม่เกิน 7 กิโลวัตต์ อีกทั้งราคาของที่ชาร์จขนาด 22 กิโลวัตต์ก็สูงกว่าราคาที่ชาร์จขนาด 7 กิโลวัตต์ ถึง 20%
ขณะนี้ รัฐบาลทั่วภูมิภาคเอเชียเริ่มมีการออกกฎระเบียบใหม่เพื่อรองรับกระแสรถยนต์ไฟฟ้า ที่กำลังเติบโต ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสิงค์โปร์ ได้กำหนด 8 พื้นที่นำร่องที่อยู่ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเคหะ (HBD: Housing and Development Board) ที่รองรับประชากรในประเทศสิงค์โปร์ถึง 20% นั้น จะต้องมีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 3-12 จุดต่ออาคารภายในปี
พ.ศ.2568 หรือประมาณ 12,000 จุดโดยรวม โดยนโยบายดังกล่าวจะถูกบังคับใช้กับพื้นที่ที่อยู่ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเคหะทั้งหมดในประเทศสิงค์โปร์ภายในปีพ.ศ.2573 นอกจากนี้รัฐบาลสิงค์โปร์ยังมีการสนับสนุนเงินทุนสูงสุดถึง 50% สำหรับเครื่องชาร์จอัจฉริยะ (Smart Chargers) ทั้งหมด อีกทั้งสิงค์โปร์ยังมีแผนที่จะออกกฎหมายใหม่เพื่อให้แน่ใจว่าอาคารมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพียงพอสำหรับ 15% ของที่จอดรถสำหรับติดตั้งจุดชาร์จ 7.4kW และอย่างน้อย 1% ของที่จอดรถจะต้องเป็นที่จอดรถที่มีที่ชาร์จ EV
ทางด้านประเทศจีน มีเมืองใหญ่หลายเมืองที่ได้ออกกฎหมายบังคับให้อาคารใหม่ติดตั้งจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากร ในขณะที่ฮ่องกงกำลังสนับสนุนการพัฒนาอาคารปัจจุบันเพื่อการติดตั้งโครงสร้างที่รองรับจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยให้เงินทุนสูงถึง 4,000 เหรียญสหรัฐต่อพื้นที่จอดรถ สำหรับที่จอดรถทั้งหมด 140,000 แห่งภายในปีพ.ศ. 2571 โดยคิดเป็นมูลค่ารวมสูงถึง 450 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจในปีพ.ศ.2564 โดย เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) เกี่ยวกับความสนใจของผู้บริโภคในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า พบว่าข้อกังวลหลักคือ เวลาในการชาร์จที่ยาวนาน (50%) ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งจุดชาร์จที่บ้าน (40%) และปัญหาที่พบในการติดตั้งจุดชาร์จที่บ้าน (20%)
โจนาธาน วาร์กัส รุยซ์ หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ประจำภูมิภาคอาเซียน บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “สถานการณ์ปัจจุบันดังกล่าวเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำหรับรัฐบาลไทยในการบรรลุเป้าหมายด้านการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และสำหรับผู้ผลิตรถยนต์ที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) เนื่องจากในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลประชาชนมากกว่า 1 ใน 3 อาศัยอยู่ในอาคารและอพาร์ตเมนต์ ดังนั้นเพื่อเร่งความคืบหน้าในการเปลี่ยนให้คนไทยหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐานของจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัวจำเป็นต้องรองรับให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค”
“เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนในอนาคต ประเทศไทยควรมีการเริ่มปรับใช้กฎระเบียบเพื่อกำหนดให้อาคารใหม่ติดตั้งจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และดูแลให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าการเติบโตของการปรับใช้รถยนต์ไฟฟ้า จะดำเนินต่อไปตามที่คาดไว้ การชาร์จที่บ้านมักจะเป็นวิธีการชาร์จทั่วไปสำหรับเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคสามารถชาร์จรถยนต์ได้แบบไร้ข้อกังวล”
หากต้องการทราบว่า เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) สามารถช่วยสร้างโอกาสจากการขยายตัวของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า(EV) ได้อย่างไร สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ contactthailand@abeam.com
เกี่ยวกับบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีทีมงานกว่า 6,600 คน ที่ให้บริการลูกค้าทั่วภูมิภาคเอเชีย อเมริกา และยุโรป เปิดให้บริการที่ปรึกษาในประเทศไทยเมื่อปี 2548 บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญกว่า 400 คน ที่ให้บริการลูกค้าด้วยความเชี่ยวชาญด้าน Business และ Digital Transformation เพื่อช่วยให้บริษัทและองค์กรต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในฐานะพันธมิตรที่สร้างสรรค์ เพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ อุตสาหกรรมและสังคมให้ก้าวสู่การเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อทางอีเมลที่ contactthailand@abeam.com หรือเข้าชมเว็บไซต์ของเราเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.abeam.com/th/en