Puff.

View Original

AI จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาภาวะหมดไฟทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ได้จริงหรือ?

หลังต้องต่อสู้กับวิกฤติโควิด-19 อันแสนยาวนาน อุตสาหกรรมด้านเฮลท์แคร์กลับต้องเผชิญวิกฤติอีกครั้ง กับการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลกและการเพิ่มขึ้นของบุคลากรที่รู้สึกหมดไฟในการทำงาน เมื่อช่วงต้นปี 2022 ผลสำรวจพบว่า 1 ใน 2 หรือประมาณ 47% ของบุคลากรทางการแพทย์ รู้สึกหมดไฟในการทำงาน ซึ่ง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีเพียง 42% เป็นเหตุให้บุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากตัดสินใจลาออกจากสายอาชีพ สวนทางกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น จนหลายๆ โรงพยาบาลต่างเป็นกังวลว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้โรงพยาบาลไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอต่อการดูแลผู้ป่วย จึงเกิดคำถามว่าเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) จะสามารถเข้ามาแก้วิกฤติและช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ได้หรือไม่?

ให้ข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย

ด้วยจำนวนข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยี AI สามารถเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยการให้ข้อมูลเชิงลึกในการดูแลรักษาผู้ป่วย อย่างเช่น ความท้าทายที่ทีมดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติ หรือไอ.ซี.ยู (ICU) ต้องเผชิญกับปริมาณข้อมูลจำนวนมากที่รวบรวมจากผู้ป่วยทุกราย โดยในแต่ละวันแพทย์และพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติ นอกจากต้องทำงานอย่างหนักเพื่อดูแลผู้ป่วยแล้ว พวกเขายังต้องคอยมอนิเตอร์สัญญาณเตือนจำนวนมากที่มาจากผู้ป่วยแต่ละรายด้วย ดังนั้น การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ predictive analytics ที่ใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการจัดลำดับความสำคัญและแจ้งเตือนถึงผู้ป่วยที่มีแนวโน้มอาการทรุดหรือรุนแรงขึ้น เพื่อให้มีการดูแลอย่างเร่งด่วน หรือแจ้งเมื่อผู้ป่วยมีอาการคงที่และพร้อมที่จะย้ายไปสู่การดูแลรักษาที่หอผู้ป่วยธรรมดา ซึ่งชุดช้อมูลที่ได้รับการประมวลผลจากระบบ AI นี้จะช่วยให้แพทย์และพยาบาลตัดสินใจได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น

ความจำเป็นของระบบ AI ที่ยึดบุคลากรเป็นศูนย์กลาง

แน่นอนว่าเทคโนโลยี AI ไม่เพียงแต่เป็นหนึ่งในตัวช่วยในการลดภาระงาน และลดอัตราการลาออกของบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น แต่เทคโนโลยี AI ยังสามารถช่วยยกระดับวงการเฮลท์แคร์ได้อีกมาก ทั้งการปรับปรุงกระบวนการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาทางคลีนิก


ที่สำคัญที่สุด ในการขจัดภาวะหมดไฟและสร้างความสุขในการทำงานให้บุคลากรทางการแพทย์ เราจำเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลที่รองรับการดูแลรักษาระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้บริการอย่างเต็มที่ และจำเป็นต้องบูรณาการกระบวนการทำงาน เพื่อประยุกต์เทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในวงกว้าง และความจำเป็นที่จะต้องออกแบบการใช้งาน AI โดยยึดบุคลากรเป็นศูนย์กลาง การออกแบบโซลูชั่นที่ใช้ AI ต้องคำนึงถึงการนำไปใช้งานของบุคลากรเป็นสำคัญ โดยโซลูชั่น AI มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการลดภาระงาน และสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในที่พวกเขาต้องเผชิญความกดดันในการตัดสินใจ